The naturalistic documentary film for promoting the community forest : Alor-don ban, Muang, Surin
จัดทำโดย ถาวร มีชัย, นาท ดวงมณี และ ทัศกร ศรีระมาตร
สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2556
บทคัดย่อ (Abstract)
ภาพยนตร์สารคดีชุดนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับป่าชุมชนบ้านอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ มีความยาวประมาณ 9 นาที
วิธีการศึกษาการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนบ้านอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ ดำเนินการถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทัลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 500D, 550D, 70D และ Nikon รุ่น D90 ตัดต่อลำดับภาพและเสียงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จากนั้นผู้ศึกษาดำเนินการจัดทำสำเนาในรูปของสื่อดิจิทัลวิดีโอดิสก์ (DVD) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อจากองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา และดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำ พร้อมดำเนินการจัดส่งให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
จากการผลิตผลงานภาพยนตร์สาคดีนี้สามารถสรุปได้ว่า ภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม เพื่อเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ สามารถเสนอประโยชน์และความงามของป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ ให้ผู้รับชมได้
วัตถุประสงค์
เพื่อทำการผลิตภาพยนตร์สารคดี ที่มีเนื้อหาส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนำเสนอคุณค่าของป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ ในรูปแบบของภาพยนตร์สารคดีได้
ขอบเขตการศึกษา
ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการผลิตภาพยนตร์สารคดีแบบธรรมชาตินิยม เพื่อนำเสนอคุณค่าของป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน เพื่อให้นักเรียน เยาวชนและประชาชนทั่วไปได้ตระหนักถึงคุณค่าของป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน โดยดำเนินการถ่ายทำด้วยกล้องดิจิทัลสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR) ยี่ห้อ Canon รุ่น 500D, 550D, 70D และ Nikon รุ่น D90 บันทึกภาพในรูปแบบภาพเคลื่อนไหว โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์มีความยาวประมาณ 9 นาที โดยทำการตัดต่อลำดับภาพและเสียงโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป จากนั้นผู้ศึกษาดำเนินการจัดทำสำเนาในรูปของสื่อดิจิตอลวิดีโอดิสก์ (DVD) เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อจากองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ของเนื้อหา และดำเนินการแก้ไขตามคำแนะนำ พร้อมดำเนินการจัดส่งให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
สรุปผลการศึกษา
จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่กล่าวมาข้างต้น ผู้ศึกษาสามารถสรุปประเด็นต่างๆ จากการนำเสนอผลงานภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม : เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน ได้ดังนี้
ข้อจำกัดในเรื่องของภาพ ภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าว มีภาพสั่นไหวบางช่วงและบางช่วงที่ภาพดูขัดแย้ง แย่งความน่าสนใจ แต่โดยรวมการนำเสนอภาพต่อเนื่องกันดีมีความเป็นธรรมชาติและเหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่นำเสนอ
ข้อจำกัดในเรื่องของเสียง มีเสียงเพลงประกอบภาพบางช่วงไม่สอดคล้องกับภาพและไม่ค่อยมีเสียง Effect ประกอบให้เข้ากับภาพ
จุดเด่นที่ผู้เชี่ยวชาญให้ความคิดเห็นต่อผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าว โดยรวมของชิ้นงานที่ถ่ายมา ผู้ศึกษาสามารถนำเสนอภาพที่ดูเป็นธรรมชาติ เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ สามารถดึงดูดความน่าใจ และยังทำให้เห็นถึงความกว้างใหญ่ไพศาลของผืนป่าได้เป็นอย่างดี ด้านองค์ประกอบภาพ ภาพดูลึกและมีมิติสามารถสร้างสุนทรียชวนติดตามส่วน จังหวะในการตัดต่อก็เหมาะสมกับเนื้อหาในการนำเสนอ
อภิปรายผล
จากการผลิตภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยม เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าชุมชนอาลอ-โดนแบน อ.เมือง จ.สุรินทร์ จากการประเมินผลเรื่องคุณภาพของผลงานภาพยนตร์สารคดี ของผู้เชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสื่อผู้เชี่ยวชาญได้แสดงความคิดเห็นต่อผลงานภาพยนตร์สารคดีเรื่องดังกล่าวว่า ภาพยนตร์มีการนำเสนอวัตถุประสงค์ในการผลิตที่ชัดเจนว่าเป็นภาพยนตร์สารคดีในรูปแบบธรรมชาตินิยมที่มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาในเชิงอนุรักษ์ซึ่งสอดคล้องกับ ธัญญา สังขพันธานนท์ (2548 : 152) กล่าวว่า สารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสารคดีอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความสนใจอย่างมากในรอบทศวรรษที่ผ่านมา เหตุที่สารคดีแนวนี้มีผู้ชมและสนใจค่อนข้างมาก คงเนื่องมาจากกระแสความตื่นตัวในเรื่องอนุรักษ์ธรรมชาติกำลังเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจจากคนทั่วโลก
ข้อเสนอแนะในภาพยนตร์สารคดี
- ระยะเวลาที่นำเสนอดูน้อยเกินไป
- ควรปรับปรุงเรื่อง Effect ประกอบ
- องค์ประกอบในบางฉากยังต้องปรับปรุง
- เนื้อหาตอนแรกจะว่าด้วยเรื่องของปัญหาที่เกิด ภาพที่เลือกมานำเสนอยังไม่สร้างอารมณ์ให้คนดูตระหนัก หรือทำให้รู้สึกที่ส่งผลกระทบกับจิตใจ
- เริ่มเรื่องด้วยปัญหา แต่ยังไม่เห็นว่าแล้วอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้คนในชุมชนตระหนัก (ภาพยังไม่แสดงที่จะพาคนดูรู้สึกไปด้วย รับรู้ได้เพียงคำสัมภาษณ์)
- ควรใช้ Super impose ในการแนะนำตัว ตอนเปิดตัวผู้สัมภาษณ์ครั้งแรกของแต่ละคน เพื่อให้คนดูจดจำ