THE PRODUCTION OF CAR PHOTOGRAPHY’S GIUSEPPE REPETTO BY USING CAR RIG
จัดทำโดย ชญานิน สุจีนะพงษ์, ภาณุพล ดรเขื่อนสม และภวัต วรรณทอง
ปีการศึกษา 2553
บทคัดย่อ (Abstract)
ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตภาพถ่ายรถยนต์ตามรูปแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้องแบบยึดเกาะรถยนต์
วิธีการศึกษา ผู้ศึกษาทำการผลิตภาพถ่ายรถยนต์ตามรูปแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้องแบบยึดเกาะ และนำอุปกรณ์มาติดตั้งเข้ากับรถยนต์ แล้วเชื่อมต่อการถ่ายภาพผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กด้วยโปรแกรม Nikon control pro ภาพถ่ายที่ได้มานั้นจะเป็นภาพแบบโมชั่นเบลอ และนำภาพที่ได้มาตกแต่งเพิ่มเติมด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CS5
ผลการศึกษาพบว่า ภาพถ่ายที่ผลิตมานั้นมีความคล้ายคลึงกับรูแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ โดยอุปกรณ์รองรับกล้องที่ใช้ถ่ายมีข้อดีกว่าอุปกรณ์รองรับของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ ได้แก่ แขนยืดได้ยาวกว่า และใช้กับรถที่มีความเร็วมากกว่า
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
เพื่อผลิตถ่ายภาพรถยนต์ตามรูปแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้อง
แบบยึดเกาะรถยนต์
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ทำให้รู้แนวทางการถ่ายภาพรถยนต์โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้องแบบยึดเกาะรถยนต์
- สามารถผลิตภาพถ่ายรถยนต์ตามรูปแบบการถ่ายภาพของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้
- สามารถใช้เป็นแนวทางการถ่ายภาพรถยนต์แบบ โมชั่นเบลอ
ขอบเขตการศึกษา
ในการศึกษาการถ่ายภาพรถยนต์ตามรูปแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ โดยใช้อุปกรณ์รองรับกล้องแบบยึดเกาะรถยนต์
กล้องดิจิตอลยี่ห้อ Nikon D80 ความละเอียด 6 ล้านพิกเซล เลนส์มุมกว้างและอุปกรณ์ส่งถ่ายข้อมูล สาย USB ระหว่างกล้องกับคอมพิวเตอร์พกพาโดยควบคุมการทำงานของกล้องผ่านโปรแกรม Nikon control pro 2.0 เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการถ่ายภาพ จึงนำภาพที่ได้มาปรับแต่งในโปรแกรม Photoshop cs5 แล้วนำภาพที่ได้มาอัดขยาย เพื่อดูผลพิเศษทางภาพที่ได้จากการถ่ายภาพโดยใช้อุปกรณ์ริกในมุมมองต่างๆที่สามารถจะทำได้ และสรุปผลการศึกษา โดยนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพถ่าย จำนวน 5 ท่านเปรียบเทียบ
สรุปผลการศึกษา
จากการถ่ายภาพรถยนต์โดยใช้อุปกรณ์ยึดเกาะ ตามแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ ทำให้ทราบถึงข้อจำกัดต่างๆในการถ่ายภาพ ฉะนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงคิดค้นวิธีการถ่ายในรูปแบบเดียวกันแต่ต่างมุมมองและสามารถลดข้อจำกัดของอุปกรณ์ที่ถ่ายตามแบบของ กุซเซปเป้ รีเปทโต้ ทำให้มีมุมมองที่กว้างและโดดเด่นมากขึ้น
ปัญหาและอุปสรรค
- ข้อมูลทางด้านอุปกรณ์น้อยเนื่องจากมีผู้ผลิตอุปกรณ์นี้น้อยและไม่เปิดเผยข้อมูลฉะนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงต้องมีการลองผิดลองถูก จนอุปกรณ์สามารถถ่ายภาพได้ตามต้องการ
- ตัวกล้องและอุปกรณ์มีน้ำหนักมากทำให้การคำนวณผลเมื่อรถหยุดนิ่งกับรถเคลื่อนที่มีน้ำหนักที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงทำให้อุปกรณ์เกิดการสั่นไหว
- ความร้อนของตัวรถเกิดจากความร้อนภายในห้องเครื่องทำให้เมื่อนำตัวดูดอากาศแบบผิวเรียบไปยึดกับบริเวณดังกล่าวแล้วอากาศภายในตัวดูดอากาศแบบผิวเรียบ ขยายตัว จึงเกิดการหลุดร่วงของอุปกรณ์กล้อง
- เมื่อติดตั้งอุปกรณ์ยาวเกิน 2 เมตร จะเกิดการสั่นไหวมากและเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
- อุปกรณ์นี้ไม่สามารถยึดติดกับรถยนต์ที่ใต้ท้องรถไม่มีครีบใต้รถ
ข้อเสนอแนะ
- การประดิษฐ์อุปกรณ์รองรับกล้องถ่ายภาพติดรถยนต์ขณะเคลื่อนที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการถ่ายภาพที่ไม่สามารถใช้มือเปล่าถือกล้องถ่ายได้และเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ
- ใช้งานได้กับรถทั่วไปทุกประเภท แต่หากเป็นรถยนต์ที่มีช่วงล่างที่กระด้างหรือวิ่งในทางขรุขระ จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของอุปกรณ์รองรับกล้องลดลง โดยจุดยึดที่ติดแน่นและปลอดภัยที่สุดจะเป็นส่วนของกระจกทั้งหมด
- ตำแหน่งในการติดตั้งอุปกรณ์ ทำให้ยากลำบากในการตกแต่งภาพ ซึ่งควรเปลี่ยนวิธีการยึด และตำแหน่งในการติดตั้งใหม่
- รถยนต์ต้องวิ่งด้วยความเร็วที่เหมาะสมกับความเร็วชัตเตอร์จะทำให้ภาพดูสวยงามมากยิ่งขึ้น