The film production of Roommate: The Shattered Memories

จัดทำโดย อภิสิทธิ์ บุญศิลป์, ผกากรอง แก้วสุวรรณ์ และชุลีรัตน์ ทาเที่ยง

ปีการศึกษา 2554


บทคัดย่อ (Abstract)

การจัดทำปริญญานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาเทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ในภาพยนตร์ โดยการผลิตภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับประสบการณ์การอยู่หอพักครั้งแรกของ “แอน” ท่ามกลางข่าวการหายตัวไปของ “บ๊วย” เพื่อนร่วมห้องของ “ฝน” ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ความยาวประมาณ 47 นาที โดยใช้เทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion

จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาเทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ในภาพยนตร์ว่า องค์ประกอบโดยรวมทั้งด้านภาพยนตร์ ในหัวข้อเนื้อเรื่อง มุมกล้องมีความน่าสนใจ การลำดับภาพอยู่ในระดับดี (3.8) ด้านเสียงในเรื่องมีความสอดคล้อง เสียงที่ใช้ช่วยเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้น หวาดกลัวอยู่ในระดับดี (4) และด้านเทคนิคพิเศษในเรื่องช่วยในการเพิ่มอารมณ์ความรู้สึกในการรับชมอยู่ในระดับดี (4.1)

สรุปผลการศึกษาภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับที่ต้องการนำเทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ที่ศึกษามาผลิตภาพยนตร์ได้ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื้อเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย องค์ประกอบโดยรวมออกมาดี และในส่วนที่ศึกษา คือเทคนิค Slow Motion ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่องช้าเหม่อลอยของตัวละคร และเทคนิค Fast Motion ส่งผลให้ภาพดูน่าตื่นเต้น สับสัน ก่อนความเร็วของภาพจะถูกเร่งระดับขึ้นให้แตกต่างจากภาพความเป็นจริง


วัตถุประสงค์

  1. เพื่อผลิตภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories
  2. เพื่อสร้างเทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ในการผลิตภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์เรื่อง Roommate: The Shattered Memories

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories
  2. ได้ภาพยนตร์เทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ในการถ่ายภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories
  3. ได้ผลสรุปความคิดเห็นจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ หลังจากชมภาพยนตร์ เรื่อง Roommate: The Shattered Memories

ขอบเขตการศึกษา

ผู้ศึกษาทำการศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ในภาพยนตร์เรื่อง Roommate: The Shattered Memories เรื่องราวประสบการณ์การอยู่หอพักครั้งแรกของแอน ท่ามกลางข่าวการหายตัวไปของบ๊วยเพื่อนร่วมห้องของฝน ที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ความยาวประมาณ 47 นาที ถ่ายทำด้วยกล้อง DSLR แล้วนำไปตัดต่อด้วยโปรแกรม ผลที่ได้ออกมาเป็น DVD เพื่อทำการประเมินผล โดยการจัดฉายให้กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ทางด้านภาพยนตร์ แล้วกรอกแบบสอบถาม นำความคิดเห็นที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปและประเมินผล


สรุปผลการศึกษา

ผลจากการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว สรุปผลออกมาใน 3 ประเด็น คือ ด้านภาพยนตร์ ด้านเสียง และด้านเทคนิคพิเศษ

ด้านภาพยนตร์ เนื้อเรื่องมีความน่าสนใจขนาดภาพและมุมกล้อง และเรื่องของความรู้สึกคล้อยตาม การลำดับภาพมีความเข้าใจ โดยรวมแล้วอยู่ในเกณฑ์ระดับ “ดี” แต่บางครั้งต้องอาศัยศิลปะพลิกแพลงเพื่อให้สิ่งนั้นน่าสนใจ

ส่วนด้านเสียงช่วยในการดำเนินเรื่องมีความสอดคล้อง เสียงที่ใช้ช่วยเพิ่มความรู้สึกตื่นเต้น หวาดกลัว ความเหมาะสมในการเลือกใช้เสียง มีความคมชัด และมีความสัมพันธ์กันกับภาพได้ดี ซึ่งโดยภาพรวมแล้วผลการประเมินด้านเสียงอยู่ในระดับ “ดี”

และด้านเทคนิคพิเศษอยู่ในเกณฑ์ที่ “ดี” ซึ่งผลจากการประเมินพบว่า เทคนิค Slow Motion ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่องช้า เหม่อลอยของตัวละคร แต่บางฉากในการสื่ออารมณ์ยังไม่ขึ้นแต่ยังอยู่ในระดับดี และเทคนิค Fast Motion ช่วยให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น ระทึกขวัญ สรุปโดยภาพรวมแล้วผลการประเมินด้านเทคนิคพิเศษอยู่ในระดับ “ดี”

อภิปรายผลการศึกษา

ภาพยนตร์ที่ผลิตขึ้นตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ที่ต้องการนำเทคนิค Slow Motion และเทคนิค Fast Motion ที่ศึกษามาผลิตภาพยนตร์ ได้ผลออกมาอยู่ในเกณฑ์ที่ดี เนื้อเรื่องที่เข้าใจได้ง่าย องค์ประกอบโดยรวมออกมาดี และในส่วนที่ศึกษา คือ เทคนิค Slow Motion ทำให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกเชื่องช้า เหม่อลอยของตัวละคร และเทคนิค Fast Motion ส่งผลให้ภาพดูน่าตื่นเต้น สับสัน ก่อนความเร็วของภาพจะถูกเร่งระดับขึ้นให้แตกต่างจากภาพความเป็นจริง

ปัญหาและอุปสรรค

  1. งบประมาณในการผลิตภาพยนตร์ ซึ่งทางผู้ศึกษามีงบประมาณค่อนข้างที่มีจำนวนจำกัดในการผลิต ดังนั้นผู้ศึกษาจึงจัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องถ่ายทำ จะหาอุปกรณ์ที่มีอยู่แล้วนำประยุกต์ในการถ่ายทำเพื่อสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้
  2. เรื่องของเวลาค่อนข้างจะมีจำกัด ในการผลิตภาพยนตร์ และเวลาว่างของนักแสดงมีเวลาถ่ายได้ อาทิตย์ละ 1 วัน ซึ่งจะทำให้ผู้ศึกษาต้องทำงานแข่งกับเวลา เพื่อให้ทันช่วงเวลาที่กำหนด

ข้อเสนอแนะ

  1. ควรให้มีการจัดแสงสร้างมิติให้ภาพยนตร์ช่วยเผยให้เห็นมิติที่สมจริง และน่าสนใจยิ่งขึ้น
  2. ควรมีขนาดภาพ ให้หลากหลายกว่านี้ เพราะในภาพยนตร์ค่อนข้างจะมีขนาด MCU เน้นอารมณ์ใบหน้าตลอด แต่บางฉากหน้าไม่สนับสนุนหรืออารมณ์ยังไม่ได้
  3. บทภาพยนตร์ควรจะมีดูแลบทโดยผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะด้านจะทำให้ภาพยนตร์น่าสนใจมากขึ้น เพราะบทยังมีเหตุผลไม่เพียงพอ ในส่วนต้นเรื่องน่าติดตามดี
  4. ควรจะมีการประเมินด้านมัลติมีเดียเพิ่มอย่างเช่น เรื่องการใช้ Font และ color เป็นต้น
  5. Sub-Title ควรให้มี Font ขนาดใหญ่กว่านี้
  6. ควรจะหาวิธีในการบันทึกเสียงที่ให้เกิด Noise น้อยที่สุดซึ่งเสียงที่บันทึกทำลายอรรถรสภาพมากเพราะเสียงบรรยากาศดังกลบเสียงพูด
  7. ควรหาวิธีหรือเทคนิคในการเคลื่อนกล้องให้ดีกว่านี้เพราะภาพบาง Shot ยังไม่นิ่งขนาดภาพ Shot ดูแน่น และสัดส่วนภาพยังไม่ดีพอ

รับชมผลงาน