Designing and Creating Website for BMA Local Museum Bangrak District (Bangkokian Museum)

จัดทำโดย อลิฟ หะยีลาเปะ

ปีการศึกษา 2552


บทคัดย่อ (Abstract)

ในการศึกษาผู้จัดทำได้จัดทำเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก) ที่สื่อถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของคน ในท้องถิ่นแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวมีโอกาสได้รับความรู้เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก)

ผู้ศึกษาได้จัดทำเว็บไซต์ที่มีการนำรูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive) มาใช้เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างระบบกับผู้ใช้ ใช้เทคนิคการถ่ายภาพ 360 องศา โดยการนำเสนอมุมมองภาพในแนวระนาบและนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ทันสมัยมาใช้ในการนำเสนอเพื่อสร้างจุดเด่นและความน่าสนใจให้เกิดแก่เว็บไซต์

ผลการศึกษาพบว่า การออกแบบเว็บไซต์มีความเป็นเอกลักษณ์และสามารถนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี ในส่วนของเนื้อหามีประโยชน์ มีความกระชับได้ใจความ ตรงตามวัตถุประสงค์การนำเสนอในแต่ละหัวข้อ มีระบบเนวิเกชั่นที่เรียบง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลในหน้าเว็บเพจต่าง ๆ การจัดวางองค์ประกอบภาพอยู่ในเกณฑ์ “ดี” สีและลักษณะตัวอักษร ลายเส้น ภาพประกอบสอดคล้องกับพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการใช้เทคนิคการถ่ายภาพ 360 องศา โดยการนำเสนอมุมมองภาพในแนวระนาบที่น่าสนใจ


วัตถุประสงค์

  1. ศึกษาการออกแบบและผลิตเว็บไซต์
  2. ออกแบบและผลิตเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้ทราบถึงการออกแบบและผลิตเว็บไซต์
  2. ได้เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก)

ขอบเขตการศึกษา

ในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะทำการออกแบบเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก) ในรูปแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ (Interactive) มาใช้เพื่อการมีส่วนร่วมระหว่างระบบกับผู้ใช้และใช้เทคนิคการถ่ายภาพ 360 องศา โดยการนำเสนอมุมมองภาพในแนวระนาบ

อุปกรณ์ที่ใช้ คือ Computer PC ระบบปฏิบัติการ Microsoft Window XP CPU Intel[R] Core[TM]2 Duo CPU E4600 2.40GHz RAM 2.00 GB โดยใช้โปรแกรม Adobe Photoshop CS3 ในการตกแต่งภาพ ใช้โปรแกรมAdobe Illustrator CS3 ในการสร้างกราฟิกและใช้โปรแกรม Adobe Flash Professional CS3 ในการออกแบบโครงสร้างหลักของเว็บ ซึ่งประกอบด้วยส่วนหัวของข้อมูล (Header) เมนูหลัก (Main Menu) หัวข้อ (Content) และข้อความท้ายหน้า (Footer) เป็นต้น รวมทั้งกำหนดการเคลื่อนไหวของกราฟิกต่าง ๆ โดยนำเสนอในรูปแบบ VCD ให้กับผู้ทรงคุณวุฒิด้านเนื้อหาและคุณภาพสื่อเพื่อทำการประเมินผล และมอบให้แก่พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก) เพื่อเป็นสื่อรูปแบบใหม่ที่ช่วยในการประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ต่อไป


อภิปรายผลการศึกษา

จากผลการศึกษา สามารถอภิปรายผลจากการศึกษาเป็นด้านต่าง ๆ ได้ดังนี้

  1. ด้านเนื้อหา
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ในส่วนของเนื้อหามีความกระชับชัดเจน เนื้อหามีความครอบคลุมครบถ้วนอยู่ในเกณฑ์ “ดี” การจัดหมวดหมู่และหัวข้อสามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่เกิดความสับสน ข้อมูลภายในเว็บไซต์เป็นปัจจุบันและถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด”
  2. ด้านการใช้งาน
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความรวดเร็วในการแสดงผลข้อมูลและการดาวน์โหลดข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ “ดี” มีระบบเนวิเกชั่นที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลในหน้าเว็บเพจต่าง ๆ
  3. ด้านการออกแบบกราฟิก
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า โทนสีที่ใช้สามารถสื่อถึงภาพลักษณ์ขององค์กรได้ดี มีการจัดวางองค์ประกอบของรูปภาพที่เหมาะสม ภาพที่ใช้ประกอบมีความสอดคล้องกับเนื้อหา ตัวอักษรที่ใช้อ่านง่าย มีความชัดเจน ส่วนของกราฟิกโดยรวมเหมาะสมดี
  4. ด้านองค์ประกอบของการออกแบบเว็บไซต์
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า การออกแบบเว็บไซต์มีความเป็นเอกลักษณ์ และสามารถนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี เว็บไซต์มีความเรียบง่ายแต่น่าสนใจ เนื้อหามีประโยชน์ตรงตามวัตถุประสงค์การนำเสนอในแต่ละหัวข้อ สามารถใช้งานได้ไม่จำกัด ส่วนคุณภาพในการออกแบบเว็บไซต์อยู่ในเกณฑ์ “มากที่สุด”
  5. ด้านมัลติมีเดีย
    จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญพบว่า มีการตอบโต้และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ได้อยู่ในเกณฑ์ “ดี” สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ได้มากขึ้น การใช้เสียงประกอบมีความเหมาะสมดี การเสนอมุมมองภาพ 360 องศาที่ใช้ในเว็บไซต์สามารถสร้างความน่าสนใจให้กับเว็บไซต์ได้

สรุปผลการศึกษา

ในการจัดทำปริญญานิพนธ์เรื่อง การออกแบบและผลิตเว็บไซต์พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร เขตบางรัก (พิพิธภัณฑ์ชาวบางกอก) เป็นไปได้อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ซึ่งการออกแบบเว็บไซต์ให้กับองค์กรนั้นควรออกแบบให้สื่อถึงภาพลักษณ์ขององค์กรนั้น ๆ และต้องคำนึงถึงความถูกต้องของสื่อมากที่สุด โดยข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์แสดงให้เห็นว่า การออกแบบเว็บไซต์ มีความเป็นเอกลักษณ์ และสามารถนำเสนอภาพลักษณ์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี ในส่วนของเนื้อหามีประโยชน์ มีความกระชับได้ใจความ ตรงตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอในแต่ละหัวข้อ มีปริมาณของเนื้อหาเหมาะสม มีระบบเนวิเกชั่นที่เรียบง่าย และสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลในหน้าเว็บเพจต่าง ๆ การจัดวางองค์ประกอบภาพดี สีและลักษณะตัวอักษร ลายเส้น ภาพประกอบสอดคล้องกับพิพิธภัณฑ์ รวมถึงการใช้เทคนิคการถ่ายภาพ 360 องศา โดยการนำเสนอมุมมองภาพที่น่าสนใจ

ข้อเสนอแนะ

  1. ถ้าไฟล์งานที่ออกแบบมีขนาดใหญ่เกินไป ควรลดขนาดของไฟล์ดังกล่าว เพื่อความรวดเร็วในการโหลดและเรียกดูจากอินเทอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
  2. เนื่องจากในปัจจุบันมีหน้าจอแสดงผลหลายรูป หลายขนาด จึงควรออกแบบและผลิตเว็บไซต์ให้แสดงผลได้ถูกต้องในทุกแบบของหน้าจอ
  3. การนำเสนอภาพเคลื่อนไหว ควรใช้เทคนิคพิเศษต่าง ๆ มาเสริม เช่น XML VRML และ FLEX เป็นต้น จะทำให้การเคลื่อนไหวของภาพมีความสมบูรณ์และเคลื่อนไหวได้อย่างนุ่มนวล
  4. ในการออกแบบเว็บไซต์ควรมีรายละเอียดในการติดต่อกลับ เช่น มีกล่องข้อความเพิ่มรายละเอียดหรือสอบถามข้อมูลจากผู้รับชมเพื่อส่งไปยังทางองค์กรได้ตอบกลับ เป็นต้น
  5. ในการกำหนดขนาดของตัวอักษร ควรมีขนาดตัวอักษรที่พอดี ไม่เล็กจนเกินไป เพื่อทำให้สามารถอ่านได้ง่ายและชัดเจน
  6. ในการออกแบบส่วนของโลโก้ ควรเน้นสัญลักษณ์โลโก้ที่ออกแบบให้โดดเด่นและดึงดูดใจมากที่สุด
  7. ในการออกแบบภาพที่เป็นส่วนหัว (Header) ควรมีขนาดที่พอดี ไม่ใหญ่จนเกินไป เพื่อให้มีเนื้อที่สำหรับนำเสนอรายละเอียดในแต่ละหัวข้อได้มากขึ้น หรือใช้ภาพส่วนหัวที่สนับสนุนการนำเสนอรายละเอียดของเนื้อหาแต่ละหัวข้อ