Team learning instructional package on the practical competency training of vocational certificate students
โดย วสุรัตน์ วงษ์มิตร
ปี 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะการปฏิบัติงานก่อนเรียนและหลังเรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จากการเรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกอิเล็กทรอนิกส์ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 วิทยาลัยสารพัดช่างปราจีนบุรี จำนวน 12 คน โดยเลือกสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองเรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีม โดยเก็บข้อมูลจากแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และแบบสอบถามความพึงพอใจสำหรับนักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ dependent
ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพของชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) โดยคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 4.44 อยู่ในระดับดี 2) สมรรถนะของนักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนจากชุดการสอนแบบการเรียนรู้เป็นทีมที่มีต่อสมรรถนะการปฏิบัติงานของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) อยู่ในระดับมากที่สุด
Abstract
The purposes of this research were to 1) develop a team learning instructional package on practical competency training of vocational certificate students, 2) compare the practical competency training evaluation scores of the students before and after learning from the instructional package and 3) investigate the satisfaction level of the students on their practical competency training after learning from the package constructed.
The samples consisted of 12 vocational certificate students of Prachin Buri Polytechnic College in the second semester of the academic year 2015. The samples were selected via simple random sampling technique. The research instruments consisted of a practical competency test and a questionnaire. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation and dependent samples t-test.
The research revealed that 1) the quality of the developed instructional package was at good level ( = 4.44) , 2) the students’ post-test scores were higher than the pre-test scores with a statistically significant difference of .05, and 3) the satisfaction level of the students after learning from the instructional package on their practical competency was at the most satisfactory level.