Media Production Video Natural Eco-tourism Culture Dessert “Koh Kret”
จัดทำโดย หนึ่งฤทัย ชวศิลป์, กองทอง ศยามล, ปริมล แก้วเกิด และ อภิญญา เพ็งผล
ปีการศึกษา 2554
บทคัดย่อ
การศึกษาโครงการเป็นการศึกษาเพื่อการผลิตสื่อรายการโดยผ่านทางสื่อวีดิทัศน์ เรื่องสารคดีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “เกาะเกร็ด” ความยาวประมาณ 10 นาทีโดยมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน คือ ให้ความรู้และความบันเทิงควบคู่กันไปและต้องนำมาจากเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง หรืออ้างอิงมาจากเรื่องจริง เป็นสิ่งที่ดีงาม เป็นสิ่งแปลกใหม่ เนื้อหาของสารคดี คื อการเล่าเรื่องวิถีชีวิตความเป็นอยู่และวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวเกาะเกร็ดที่ยังคงอยู่ผ่านรายการวิดิทัศน์ โดยการเล่าเรื่องถึงความเป็นมาและสถาปัตยกรรมต่าง ๆ ของชุมชนชาวเกาะเกร็ด โดยได้ทำการประเมินการผลิตรายการวีดีทัศน์ เรื่อง สารคดีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “เกาะเกร็ด” โดยผู้ชมจำนวน 30 ท่านพบว่า ค่าเฉลี่ยทางด้านเนื้อหาตรงตามจุดประสงค์อยู่ในเกณฑ์ “ดี” ความถูกต้องของเนื้อหาอยู่ในเกณฑ์ “ดี” และความถูกต้องของภาษาอยู่ในเกณฑ์ “ดี”
จากการศึกษาโครงการในครั้งนี้ทางผู้จัดทำได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเกาะเกร็ด ขนบธรรมเนียม การทำขนมไทยต่าง ๆ ร่วมถึงการจัดทำสารคดีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ อีกทั้งเกิดการชำนาญในการผลิตรายการสารคดีวีดิทัศน์มากขึ้น
คำสำคัญ: การผลิตสื่อรายการวีดิทัศน์, สารคดี, การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์, การทำขนมไทย, เกาะเกร็ด
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อผลิตรายการสารคดีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยผ่านทางสื่อวีดิทัศน์ “รายการสารคดี จึงเป็นรายการประเภทหนึ่งที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจน คือให้ ความรู้และความบันเทิง ควบคู่กันไป ความรู้ที่ได้นั้นต้องนำมาจาก เรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง หรืออ้างอิงมาจากเรื่องจริง เป็นสิ่งที่ดีงาม ควรได้เรียนรู้ รับรู้ เป็นสิ่งแปลกใหม่ เนื้อหาของสารคดีแต่ละเรื่องต้องมีจุดยืนสำคัญของเรื่องที่จะจัดทำ”
- เพื่อศึกษาและพัฒนา การผลิตสื่อประเภทวีดิทัศน์ ให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
- ค้นคว้าหาความรู้ทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การใช้โปรแกรม การตัดต่อภาพและเสียง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- รายการที่จัดทำจะมีเนื้อหาเน้นที่การให้สาระความรู้แก่ผู้ชม มุ่งแสดงความรู้ ความคิด
ความจริง ความกระจ่างแจ้ง และเหตุผลเป็นสำคัญ - สามารถผลิตรายสารคดีท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการทำขนมโดยผ่านสื่อวีดิทัศน์ได้
- มีความรู้และความเข้าใจในการศึกษาเรื่องราวการผลิตสื่อประเภทวีดิทัศน์
ขอบเขตของการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาจะทำการผลิตรายการวีดิทัศน์ เกี่ยวกับสารคดีการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรมการทำขนม “เกาะเกร็ด” ที่มีมาเนิ่นนานในชุมชน โดยใช้ชื่อรายการ ผู้หญิงพาเลาะ เสนอตอน เลาะวันหยุด โดยใช้ความยาวเรื่องประมาณ 10 นาที โดยจะศึกษาการผลิตรายการวีดิทัศน์ ในรูปแบบสารคดีการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมการทำขนม ซึ่งเนื้อหาสารคดีจะสอดแทรกข้อคิดในการอนุรักษ์วัฒนธรรมเพื่อให้สืบสานต่อไปในชุมชนกุฎีจีน และยังเป็นสื่อบันเทิง ที่นำเสนอในรูปแบบวิดีทัศน์โดยใช้โปรแกรมการตัดต่อ และทางผู้ศึกษาจะจัดนำชิ้นงานทำขึ้นรูปแบบ DVD เพื่อไปฉายให้ผู้ชม จำนวนอย่างน้อย 30 คน เพื่อทำการประเมินผลการศึกษาครั้งนี้
สรุปผล
- การผลิตรายการวีดีทัศน์ เรื่อง สารคดีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “เกาะเกร็ด
มีความยาวของรายการทั้งหมด 10 นาที โดยประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ ส่วนแรกเป็นส่วนของการนำเข้าสู่รายการ ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของเนื้อหาในการเดินชมและลัดเลาะไปตามที่ต่าง ๆ ของเกาะเกร็ด และส่วนที่ 3 เป็นส่วนปิดท้ายรายการ ซึ่งในส่วนของการผลิตรายการวีดีทัศน์ เรื่อง สารคดีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “เกาะเกร็ด 4 ขั้นตอนได้แก่ ขั้นตอนการวางแผนการผลิต ขั้นตอนการเตรียมการผลิต ขั้นตอนการลงมือผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต - ผลการประเมินการผลิตรายการวีดีทัศน์ เรื่อง สารคดีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม “เกาะเกร็ดโดยผู้ชมจำนวน 30 ท่าน พบว่า สื่อที่จัดทำได้ผลอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง มีค่าเท่ากับ 3.06
อภิปรายผล
ผลการประเมินจากผู้ชมจำนวน 30 ท่านพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ในด้านของเนื้อหา ในการดำเนินเรื่องอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ส่วนในด้านของเทคนิคนำเสนอรายการมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง และในด้านคุณลักษณะของสื่อมีค่าเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
ซึ่งผู้ชมมีข้อเสนอแนะในเรื่องการเลือกภาพประกอบ และควรแสดงให้เห็นความวัฒนธรรมและวิถีชิวิตออกมาในรูปแบบรายการที่กระชับและชัดเจนมากกว่านี้
ปัญหาในการจัดทำ
- โปรแกรมที่ใช้บางโปรแกรมไม่สามารถทำงานร่วมกันได้
- โปรแกรมที่ใช้ในการทำกราฟิกเกิดปัญหาบ่อยครั้ง ทำให้ต้องลงโปรแกรมใหม่
- ภาพไฟล์ที่นำมาใช้อาจไม่สามารถไม่สามารถทำงานบนโปรแกรมโปรแกรมบางโปรแกรมได้
- ปัญหาในการสื่อสารกันในคณะผู้จัดทำเนื่องจากความเข้าใจในการสื่อสารไม่ตรงกันหรือคลาดเคลื่อน
- สภาวะอากาศและสภาพแวดล้อมในระยะเวลาที่จัดทำการถ่ายทำไม่เอื้ออำนวย
- ปัญหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินการต่างๆขัดข้อง
- การเดินทางและการกำหนดค่าใช้จ่ายในการถ่ายทำเนื่องจากไม่เป็นไปตามที่คาดการไว้
ข้อเสนอแนะ
- ควรที่จะกำหนดเนื้อหาว่า จะกำหนดขั้นตอนการผลิตรายการในรูปแบบใด เนื่องจากรายการแต่ละประเภทอาจมีรายละเอียดในการผลิตที่แตกต่างกัน
- ควรศึกษาสถานที่และทำการเตรียมการก่อนการดำเนินการถ่ายทำจริงเพื่อความพร้อมเนื่องจากสภาพสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง
- การกำหนดงบประมาณในการจัดทำ เนื่องจากหากไม่กำหนดงบประมาณที่ไม่รัดกุมอาจทำให้งบประมาณสูงเกินกว่าที่ควร
- การวางแผนและแบ่งหน้าที่การทำงานที่ชัดเจน เนื่องจากหากแบ่งหน้าที่การทำงานไม่ชัดเจนอาจเกินการสื่อสารที่ผิดพลาด