3 Step to Safety Ride a Public Van By Producing Motion Graphic

จัดทำโดย จินตนา จันพันธ์ และ อรสา ทองเกลี้ยง

หลักสูตร เทคโนโลยีมัลติมีเดีย

ปีการศึกษา 2560


บทคัดย่อ (ABSTRACT)

ปริญญานิพนธ์การผลิตโมชันกราฟฟิก“เรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตสื่อโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? เพื่อประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญต่อคุณภาพผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? และเพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อสื่อการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?

วิธีการศึกษาทำโดย ศึกษาข้อมูลการทำสื่อ โดยศึกษาจากหนังสืออ้างอิงบทเรียนและเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนามาเขียนบท สร้างสตอรี่บอร์ด สร้างภาพเคลื่อนไหว จากนั้นทำการใส่เสียงดนตรี และบันทึกในรูปแบบ VDO แล้วนำไปทดสอบเพื่อประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญประกอบด้วยด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่านและด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 3 ท่าน และทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะจำนวน 30 คน ทำแบบประเมินสอบถามความคิดเห็น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) วัดผลช่วง 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 14 มีนาคม พ.ศ.2561 วัดผลประเมินจากน้ำหนักของคะแนนที่ผู้ประเมินให้และนำมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยของคะแนน และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานตามวิธีทางสถิติ

ผลการศึกษาสรุปว่า ระดับคุณภาพของสื่อการผลิตโมชันกราฟฟิก “เรื่อง 3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” พบว่า คุณภาพด้านเนื้อหามีความถูกต้อง การลำดับ ความกระชับของข้อมูลมีความเหมาะสม การจัดรูปแบบเนื้อหา มีความสอดคล้องทั้งเนื้อหา และประเภทหัวข้อช่วยให้เข้าใจง่าย สื่อความหมายได้ชัดเจน คุณภาพด้านเทคนิคมีความน่าสนใจและสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี คุณภาพโดยรวมของสื่ออยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.66 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.34 และจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 คน พบว่า ระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับคะแนนเฉลี่ย 4.75 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 สรุปได้ว่า คุณภาพของสื่อโดยรวมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก และความคิดเห็นของสื่อโดยรวมอยู่ในระดับความคิดเห็นดีมาก

คำสำคัญ: โมชันกราฟิก, ความปลอดภัย


วัตถุประสงค์ของการศึกษา

  1. เพื่อศึกษากระบวนการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?
  2. เพื่อประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญต่อสื่อการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?
  3. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างต่อสื่อการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?

ขอบเขตการศึกษา

  1. การศึกษาด้านเนื้อหาแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ
    1. ข้อปฏิบัติก่อนขึ้นรถตู้
    2. ข้อปฏิบัติขณะนั่งรถตู้โดยสารสาธารณะ
    3. ข้อปฏิบัติหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ
  2. การศึกษาด้านโปรแกรม
    1. โปรแกรม Adobe Illustrator cs6 สำหรับออกแบบกราฟฟิก
    2. โปรแกรม Adobe After Effects cs6 สำหรับสร้างภาพเคลื่อนไหว
    3. โปรแกรม Adobe Premiere Pro cs6 สาหรับตัดต่อใส่เสียงประกอบ
  3. การศึกษาด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
    1. ประชากร หมายถึง เป็นบุคคลทั่วไปที่ใช้รถตู้โดยสารสาธารณะ
    2. กลุ่มตัวอย่าง หมายถึง กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เดินทางโดยใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะจำนวน 30 คน ทำแบบประเมินสอบถามความคิดเห็น โดยการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) วัดผลช่วง 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 14 มีนาคม พ.ศ. 2561

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. ขั้นตอน หมายถึง กระบวนการแก้ปัญหาที่สามารถเข้าใจได้มีลาดับหรือวิธีการในการแก้ไขปัญหาใดปัญหาหนึ่งอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และชัดเจนเมื่อนาเข้าอะไรแล้วจะต้องได้ผลลัพธ์ เช่นไรซึ่งแตกต่างจากการแก้ปัญหาแบบสามัญสำนึกหรือฮิวริสติก (heuristic)
  2. Motion Graphic หมายถึง การนำภาพ Info Graphic มาสื่อข้อมูลให้เห็นโดยเน้นเอกลักษณ์หรือลักษณะของความหมายทาให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
  3. ความปลอดภัย Safety โดยปกติทั่วๆ ไปหมายถึง “การปราศจากภัย” ซึ่งในทางปฏิบัติเป็นไปไม่ได้ที่จะขจัดภัยทุกชนิดให้หมดไปโดยสิ้นเชิงความปลอดภัยจึงให้รวมถึงการปราศจากอันตรายที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นด้วย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. เพื่อให้ทราบถึงกระบวนการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้อย่างไรให้ปลอดภัย?
  2. เพื่อให้ประชากรและกลุ่มเป้าหมายนาความรู้และแนวทางการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  3. เพื่อให้เกิดประโยชน์แนวทางการผลิตโมชันกราฟฟิก

สรุปผลการศึกษา

จากการประเมินกลุ่มผู้เชี่ยวชาญสรุปได้ว่า การผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งด้านเนื้อหานั้นได้มีการสรุปกับผู้เชี่ยวชาญในด้านเนื้อหาก่อนที่จะเริ่มผลิตสื่อ จึงทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เข้าใจได้ง่ายและการดำเนินเรื่อง เป็นไปได้อย่างเหมาะสม ซึ่งเป็นสื่อที่ให้ความรู้เรื่องใกล้ตัวและเป็นประโยชน์ต่อผู้ชมสื่อ สื่อโมชันกราฟฟิกสามารถทำให้ผู้ชมสื่อปรับพฤติกรรมทั้ง 3 ขั้นตอน ก่อนขึ้นรถตู้โดยสารสาธารณะ ขณะขึ้นรถตู้โดยสารสาธารณะ และได้รู้ข้อปฏิบัติหากเกิดเหตุฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุ ด้านภาพนิ่งภาพกราฟิกในการจัดวาง สี การสื่อความหมายของเนื้อเรื่อง มีความเหมาะสม การใช้ตัวอักษร ข้อความ มีความชัดเจนเหมาะสมกับรูปแบบของสื่อ เสียงประกอบและเสียงบรรยายช่วยสร้างความน่าสนใจให้กับสื่อได้ดี ภาพที่แสดงสถานการณ์ต่าง ๆ มีความชัดเจน จดจำได้ง่ายกว่าการอ่านข้อมูลแบบปกติ อีกทั้งการประเมินผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ในการนำเสนอเนื้อหา ความถูกต้อง การลำดับ และความกระชับของข้อมูลมีความเหมาะสม การจัดรูปแบบเนื้อหา มีความสอดคล้องทั้งเนื้อหาและประเภทหัวข้อ ช่วยให้เข้าใจง่ายและ สื่อความหมายได้ชัดเจน กราฟฟิกที่นำมาใช้สามารถสร้างความน่าสนใจและสื่อความหมายได้เป็นอย่างดี และในการผลิตสื่อนั้นมีประสิทธิภาพที่ดีเหมาะสมที่จะเป็นสื่อให้ความรู้เบื้องต้นกับกลุ่มผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ

จากการวัดผลแบบประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่เดินทางโดยใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งมาจากผู้ที่ใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะที่สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) สรุปได้ว่า สื่อโมชั่นกราฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ทำให้ผู้ที่ได้ชมมีความเข้าใจ 3 ขั้นตอนเบื้องต้นในการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ และหลังจากได้รับชมสื่อจบ ผู้ชมมีการอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเดิมในการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะ ในรายข้อที่คณะผู้จัดทำได้ทำแบบสอบถามความคิดเห็นไว้ในช่วงท้าย ซึ่งเป็นที่น่าพอใจ เพราะผู้ชมส่วนใหญ่เลือกที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองมากกว่า 2 ข้อขึ้นไป

อภิปรายผลการศึกษา

จากการศึกษางานวิจัยครั้งนี้พบว่า การผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” สื่อมีคุณภาพเหมาะสมในการนำไปเผยแพร่เพื่อให้ความรู้ ทั้งทางด้านเนื้อหา และด้านเทคนิคการผลิตสื่อ โดยมีระดับคุณภาพของการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” ซึ่งก่อนการผลิตสื่อนั้นได้มีการนำข้อมูลไปปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเนื้อหาทั้ง 3 ท่าน ระดับคุณภาพด้านเนื้อหา ความถูกต้องของเนื้อหา จากการประเมินผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ย 4.66 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.57 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก สอดคล้องกับของคุณสุเมธ องกิตติกุล และคณะมูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (2556) ศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่อง อุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ: ผลกระทบ การประกันภัยและการชดเชยเยียวยา สรุปถึงเนื้อหาเพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของผู้ประสบอุบัติเหตุรถโดยสารสาธารณะ รวมถึงความช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยที่ผู้ประสบอุบัติเหตุได้รับ เพื่อนำมาสรุปเนื้อหาที่ถูกต้องสาหรับการนำเสนอและการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง“3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” ระดับคุณภาพด้านเนื้อหา ความสอดคล้องของเนื้อหากับภาพประกอบ จากการประเมินผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ย 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก สอดคล้องกับของคุณวีรยา อุทยารัตน์ (2556) การวิเคราะห์ความปลอดภัยรถตู้โดยสารสาธารณะเพื่อศึกษาสภาพความปลอดภัยในการใช้บริการรถตู้โดยสาร สรุปถึงเนื้อหาแนวโน้มความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการขับขี่และความรู้สึกปลอดภัยของผู้โดยสาร เพื่อนำมาสรุปความสอดคล้องของเนื้อหากับภาพประกอบที่เหมาะสมสาหรับการนำเสนอและการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?”

ระดับคุณภาพด้านเทคนิค เทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ในแต่ละประเภทหัวข้อมีความต่อเนื่องมีความเหมาะสม จากการประเมินผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเฉลี่ย 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก สอดคล้องกับของคุณภาสวัฒน์ เนตรสุวรรณ (2557) วิทยานิพนธ์เรื่อง การพัฒนาสื่อโมชั่นกราฟิกส์เรื่องพื้นฐานคอมพิวเตอร์กราฟิกส์สาหรับหลักสูตรฝึกอบรมของบริษัท ทีสแควร์ครีเอทีฟ จากัด สรุปถึงเทคนิคสื่อข้อมูล โดยเน้นเอกลักษณ์ หรือลักษณะของความหมาย ทำให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อนำมาสรุปกับเทคนิคการเชื่อมโยงเนื้อหาเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ระดับคุณภาพด้านเทคนิค ภาพนิ่งและภาพกราฟิกมีสีสันสวยงามเหมาะสม จากการประเมินผู้เชี่ยวชาญ ค่าเฉลี่ย 5.00 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.00 มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับ ดีมาก สอดคล้องกับของคุณชลิต กังวาราวุฒิ (2553) วิทยานิพนธ์เรื่อง การศึกษาเพื่อการสร้างสรรค์งานดรอว์อิง โมชั่น (Drawing Motion) อุปมา อุปมัย สุภาษิตไทยกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม พัฒนาการของภาพยนตร์การ์ตูนในประเทศไทย สรุปถึงเทคนิคของวงจรสีและลายเส้นเป็นพื้นฐานของงานกราฟฟิกในการสื่อความหมาย และแสดงความรู้สึกหรืออารมณ์ ลักษณะของแสงที่ปรากฏต่อสายตาเรา เพื่อนำมาสรุปสาหรับการนาเสนอภาพนิ่งและภาพกราฟิกมีสีสันสวยงามเหมาะสม และการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?”

ระดับความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง เนื้อหาของสื่อเข้าใจง่าย จากกลุ่มตัวอย่าง 30 คน มีค่าเฉลี่ย 4.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 ระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับ ดีมาก สอดคล้องกับ คุณอรุณ วิชกิจ (2548) วิทยานิพนธ์เรื่องความคาดหวังของผู้ใช้บริการรถตู้โดยสารระหว่างกรุงเทพมหานครกับต่างจังหวัด สรุปถึงรถตู้โดยสารเกิดขึ้นมาจากช่องว่างการให้บริการขนส่งมวลชน ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) และบริษัทขนส่ง (บขส.) เพื่อนำมาสรุปสำหรับการนำเสนอเนื้อหาของสื่อเข้าใจง่าย และการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” ระดับความคิดเห็นกลุ่มตัวอย่าง การยกตัวอย่าง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย เข้าใจง่าย ค่าเฉลี่ย 4.80 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.40 ระดับความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก สอดคล้องกับของคุณวิบูลย์ สงวนพงศ์ (2554) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปถึงการยกตัวอย่างบ่อยครั้งที่มักเกิดอุบัติเหตุรุนแรงสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล เพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิต ขอแนะผู้โดยสารและผู้ขับรถตู้โดยสารปฏิบัติ เพื่อนำมาสรุปสาหรับการนาเสนอการยกตัวอย่าง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย เข้าใจง่าย และการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?”

ปัญหาและอุปสรรค

การผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” ตลอดจนการประเมินคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญและการประเมินความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างได้พบปัญหาและอุปสรรคดังนี้

  1. การผลิตสื่อในด้านของเนื้อหาต้องใช้ความรู้ทางด้านกฎหมายในการนำมาประกอบเป็นข้อมูลให้ความรู้ในเนื้อเรื่อง ทำให้ต้องศึกษาและหาข้อเท็จจริงให้ถี่ถ้วนและสอบถามเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา
  2. การออกแบบกราฟฟิกใช้ตัวละคร ฉากสถานการณ์ต่าง ๆ ต้องออกแบบให้กลุ่มเป้าหมายเข้าใจได้ง่าย น่าสนใจ แล้วต้องสอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอและสอบถามเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค

ข้อเสนอแนะ

  1. ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
    อยากให้เพิ่มความรู้บทลงโทษเกี่ยวกับพฤติกรรมของพนักงานขับรถตู้โดยสาร เช่น การขับรถเร็ว การดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น แล้วเพิ่มเนื้อหาหากไปปฏิบัติตามจะมีบทลงโทษยังไง และอยากให้เพิ่มเนื้อหาผลกระทบหลังจากเกินอุบัติเหตุ
  2. ข้อเสนอแนะของกลุ่มตัวอย่าง
    อยากให้ยกตัวอย่างสถานการณ์เกิดอุบัติเหตุจริง ๆ แล้วอธิบายว่า ควรทำอย่างไรต่อจากนี้อยากให้เบาเสียงประกอบลดลง
  3. ข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการสอบปริญญานิพนธ์
    คำบรรยายใต้ภาพยังมีคำผิดอยู่ แล้ววรรณยุกต์ลอยเกินควรไปปรับให้สวยงาม และเพิ่มเสียงบรรยายให้ดังกว่าเดิม เพราะบางช่วงเสียงเอฟเฟคแทรกทาให้ไม่ได้ยินเสียงบรรยายในบ้างช่วง
  4. ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย
    จากผลการศึกษาการผลิตสื่อโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้

    1. คณะผู้จัดทำมองเห็นปัญหาของการเกิดอุบัติเหตุทางรถตู้โดยสารสาธารณะเมื่อปี 2017 สาเหตุอุบัติเหตุจากรถตู้โดยสารสาธารณะส่วนใหญ่เกิดจากพฤติกรรมการขับขี่ขับรถเร็วประมาท รวมถึงความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น คือ คณะผู้จัดทำไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของผู้ขับขี่ได้ จึงแก้ปัญหาโดยเลือกทำหัวข้อการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง “3 ขั้นตอน ขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย?” เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการใช้บริการรถตู้โดยสารสาธารณะและมีประโยชน์กับทุกคน
    2. ขั้นตอนของการผลิตสื่อโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่าง ไรให้ปลอดภัย? การจากที่หาข้อมูลครอบคลุมแล้วเริ่มทาสตอรี่บอร์ดเพื่อนำไปเสนออาจารย์ที่ปรึกษาจากนั้นเริ่มทำกราฟฟิกตัวละคร ฉากสถานการณ์ต่าง ๆ อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินด้วยโปรแกรม Adobe Illustrator cs6 เมื่อทากราฟฟิกเสร็จแล้วจึงนำมาสร้างภาพเคลื่อนไหวด้วยโปรแกรม Adobe After Effects cs6 และขั้นตอนสุดท้ายตัดต่อใส่เสียงประกอบเสียงบรรยาย เสียงเอฟเฟคต่างๆ ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro cs6 จากนั้นนำสื่อพร้อมแบบประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและด้านเทคนิค ประเมิณคุณภาพสื่อแล้วนำข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญทั้งสองด้านมาปรับให้ถูกต้องที่สุด
    3. ขั้นตอนสุดท้าย การนำสื่อการผลิตโมชันกราฟฟิกเรื่อง 3 ขั้นตอนขึ้นรถตู้โดยสารอย่างไรให้ปลอดภัย? ไปเผยแพร่พร้อมกับแบบสอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ทำแบบประเมินสอบถามความคิดเห็นโดยการสุ่มตัวอย่างแบบการเลือกแบบตามสะดวก (Convenience Sampling) วัดผลช่วง 13 มีนาคม พ.ศ. 2561 – 14 มีนาคม พ.ศ.2561 ลงพื้นที่จริง ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (หมอชิต) ปัญหาที่พบ คือ ด้วยรอบเวลาของรถตู้โดยสารกาหนดต่อคัน 15 นาที จึงทำให้ผู้โดยสารรีบขึ้นรถตู้โดยสารจึงทำให้มีการปฏิเสธในการดูสื่อและการทำแบบสอบถามความคิดเห็น คณะผู้จัดทำจึงต้องใช้เวลาในการประเมินแบบสอบถามมากขึ้น เพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายตามที่กาหนดไว้ข้างต้น

รับชมผลงาน