The study of inclusive education management of school administrators of inclusive education primary schools in Bangkok and its suburbs
โดย ชมบุญ แย้มนาม
ปี 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการศึกษาแบบเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล และ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนการจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑลกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนจัดการเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษารูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนจัดการ เรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล โดยมีภาพรวมและพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมาก และ 2) รูปแบบการจัดการเรียนร่วมของผู้บริหารโรงเรียนจัดการเรียนร่วมระดับประถมศึกษาในพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล พบว่า ด้านนักเรียน โรงเรียนควรมีการปฐมนิเทศนักเรียน เพื่อสร้างความเข้าใจและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนในด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และ สติปัญญา เพื่อให้นักเรียนอยู่ในสังคมได้ ด้านสิ่งแวดล้อม ควรปรับสภาพอุปกรณ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับนักเรียนพิการและควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการจัดกิจกรรมต่างๆ ของนักเรียนเป็นสำคัญด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ควรจัดทำแผนการศึกษาวัดผลประเมินผลเฉพาะบุคคลและแผนการสอนเฉพาะบุคคลให้ตรงกับศักยภาพของนักเรียน และผู้บริหาร มีการนิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ด้านเครื่องมือ โรงเรียนควรมีการกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจเกี่ยวกับการจัดการเรียนร่วมอย่างชัดเจน จัดหาสื่อและเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกเพื่อพัฒนานักเรียนเป็นเลิศตามศักยภาพและความแตกต่างระหว่างบุคคล
This study aimed to investigate 1) the inclusive education management of school administrators of inclusive education primary schools in Bangkok and its suburbs, and 2) the model of inclusive education management of inclusive education primary school administrators in Bangkok and its suburbs. The samples used in this study were 148 cooperative primary schools offering inclusive education under the Office of Primary Educational Service Area in Bangkok and its suburbs. The research instruments were a questionnaire and an interview form. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation (S.D.), and the content analysis. The results of the study revealed that 1) the inclusive education management of the inclusive education primary school administrators in Bangkok and its suburbs showed a high level of overall effectiveness and in each particular aspect, and 2) the study of the model of the inclusive education management of leading inclusive education primary school administrators in Bangkok and its suburban area showed a number of major findings as follows. Firstly, in the aspect of students, it turned out that the schools were required to provide students orientation in order to build understandings and to develop students’ physical, emotional, societal, and intellectual potential so that the students could be able to live in a society. Secondly, in the aspect of environment, equipment should be improved to suit students with disability and the environment should be conducive to mainly support students’ activities. Thirdly, in the aspect of instructional activities, individual assessment should be implemented in the education plan. Individual education plan should correspond to students’ potential. Administrators had continuously supervised, monitored, and followed the management. Finally, in the aspect of equipment, schools should set clear policy, vision, and mission on inclusive education management. The schools should provide media and tools to facilitate students’ convenience to develop excellence in their potential and interpersonal differences.