THE STUDY OF DIGITAL MONOCHROME PHOTOGRAPHY PROCESSING
จัดทำโดย วารินทร์ กันทะสาน และ กฤษดา ยังสุข
หลักสูตร เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์ การศึกษากระบวนการถ่ายภาพเอกรงค์ระบบดิจิทัล (กรณีศึกษาชนเผ่ากระเหรี่ยงปกาเกอะญอ ชุมชนบ้านน้้าบ่อน้อย อ้าเภอลี้ จังหวัดล้าพูน) สามารถนำภาพถ่ายวิถีชีวิตของชนเผ่ากระเหรี่ยง ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้กับชุมชนได้
วิธีการศึกษาได้ด้าเนินการถ่ายภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยง ชุมชนบ้านน้้าบ่อน้อย อ.ลี้ จ.ลำพูน โดยการควบคุมการถ่ายภาพระบบ (Zone System) ด้วยกล้องดิจิทัล Nikon D300s เลนส์ Nikon ขนาด 14 มม. เลนส์ Nikon ขนาด 85 มม. จำนวน 20 ภาพ ตั้งแต่ 6 โซน (Zone) จากนั้นนำมาวิเคราะห์และแปรผลจากตารางวัดค่าระดับสีเทา (Zone System) และทำการอัดขนาดภาพผลงาน โดยการใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติอัดภาพถ่ายขาวด้าโดยเฉพาะ
จากผลการศึกษาพบว่า ควบคุมรายละเอียดของภาพ โดยใช้ระบบค่าสีเทา (Zone System) ช่างภาพควบคุมคุณภาพในขั้นตอนก่อนการถ่ายภาพ ต้องให้ความสำคัญในการวัดแสงระดับค่าน้ำหนักโซน (Zone) ค่อนข้างใช้เวลาพอสมควร จึงไม่เหมาะกับการใช้ระบบ (Zone System) มาถ่ายภาพแนววิถีชีวิตหรือสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง
วัตถุประสงค์การศึกษา
เพื่อศึกษาการศึกษาการถ่ายภาพเอกรงค์ในระบบดิจิตอล
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สามารถนาภาพถ่ายวิถีชีวิตของชนเผ่ากระเหรี่ยง ไปใช้ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวให้กับหมู่บ้านได้
ขอบเขตการศึกษา
ถ่ายภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ของชนเผ่าปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยง โดยใช้กล้องดิจิทัล Nikon D300s เลนส์ Nikon ขนาด 14 มม. เลนส์ Nikon ขนาด 85 มม. โดยถ่ายภาพที่ ชุมชนบ้านบ่อน้อย อ.ลี้ จ.ลาพูน และตกแต่งภาพด้วยโปรแกรม Adobe Photoshop CC 2015 และโปรแกรม Adobe Photoshop Lightroom 5 ให้เป็นภาพถ่ายเอกรงค์โดยใช้ระบบ Zone System เป็นหลักการในการควบคุม Zone ในภาพ จานวน 20 ภาพ ในแต่ละภาพจะต้องมีโซนตั้งแต่ 6 Zone ขึ้นไป จากนั้นนำมาวิเคราะห์และแปรผลจากตารางวัดค่าระดับ Zone System
สรุปผลการศึกษา
จากผลการศึกษาพบว่า การศึกษาการถ่ายภาพเอกรงค์ระบบดิจิตอล สามารถควบคุมรายละเอียดของภาพ โดยอ้างอิงระบบค่าสีเทา (Zone System) ของแอนเซล อดัมส์ (Ansel Adams) ได้แต่ยังขาดความสมบูรณ์ในบางประการ ดังนี้
- ช่างภาพควรให้ความสาคัญในขั้นตอนการวัดแสง โดยใช้ Color Checker และเครื่องวัดแสง ทาการวัดแสงในระบบตกกระทบภายใต้สภาพแสงเดียวกัน กับวัตถุที่ต้องการถ่ายเพื่อควบคุมการเปิดรับแสงในภาพ ค่าแสงที่วัดได้จาก Color Checker และวัตถุที่ต้องการถ่าย ต้องมีค่าแสงที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งจะอยู่ในส่วนของ Midtone หรือตำแหน่งที่ 5 (Zone V)
- จากนั้นหาค่าของ Midtone หรือ ตำแหน่งที่ 5 (Zone V) ในภาพให้เจอ เพื่อจะได้นำมากำหนดโซน (Zone) อื่น ๆ ตามมา
เห็นได้ว่า การกำหนดระบบค่าสีเทา (Zone System) จะเน้นความสำคัญตั้งแต่ ตำแหน่งที่ 3 (Zone III) ถึงตำแหน่งที่ 7 (Zone VIII) เป็นส่วนสุดท้ายของทั้งขาวสุดและดำสุดของภาพ ที่ยังมีรายละเอียดเหลืออยู่ชัดเจน ส่วนของตำแหน่งที่ 4 (Zone IV) ตำแหน่งที่ 5 (Zone V) ตำแหน่งที่ 6 (Zone VI) ตำแหน่งที่ 7 (Zone VII) เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาพ จะต้องมีรายละเอียดครบ ส่วนที่ดำหรือขาวกว่าตำแหน่งที่ 3 (Zone III) ถึงตำแหน่งที่ 8 (Zone VIII) ก็ปล่อยให้ขาวหรือดำไป และทุกภาพควรจะมีตำแหน่งที่ 5 (Zone V) อยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากตำแหน่งที่ 5 (Zone V) คือ ค่า Midtone ของภาพซึ่งจะเป็นตัวกำหนดค่าของโซน (Zone) อื่น ๆ ตามมาได้
โทนของภาพผลงานจะแบ่งได้เป็น สามโทนหลัก คือ โทนที่มีสีดำเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพ โทนที่มีสีเทาเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพ และโทนที่มีสีขาวเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาพ แต่ยังคงสามารถเห็นรายละเอียด ในภาพได้ รวมทั้งหมดจำนวน 20 ภาพ ที่ได้นำมาวิเคราะห์และแปรผลจากตารางวัดค่าระบบค่าสีเทา (Zone System) ดังต่อไปนี้
- จากภาพตัวอย่างพบว่า มีจำนวน 9 ภาพ ที่มีค่าความเปรียบต่างของแสงสูง หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาพ High Contrast และพบว่า มีจำนวน 11 ภาพ ที่มีค่าความเปรียบต่างของแสงต่ำ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาพ Low Contrast
- จากภาพตัวอย่างพบว่า แต่ละภาพมีโซน (Zone) ตั้งแต่ 6 โซน (Zone) ขึ้นไป แต่ไม่ครบทั้ง 10 โซน (Zone) ตามระดับค่าสีเทา (Zone System) ที่ได้กล่าวไว้ เนื่องจากผู้ศึกษา ขาดความแม่นยาในการควบคุมการวัดแสง ตามระบบค่าสีเทา (Zone System) ในขั้นตอนการถ่ายทำ ตำแหน่งของ Color Checker และวัตถุ (Subject) ไม่ได้อยู่ในสภาพแสงเดียวกัน ผู้ศึกษาจึงแก้ไขข้อผิดพลาดดังกล่าว ด้วยการนำไฟล์ภาพ (RAW File) มาปรับน้าหนักค่าสีเทาในภาพในโปรแกรม Adobe Lightroom 5 และทำการเทียบค่าอ้างอิงจากตารางวัดค่าระดับ (Zone System) จากนั้นนำภาพมาทำการวิเคราะห์ด้วยกราฟฮิตโตแกรม (Histogram) ในโปรแกรม Adobe Photoshop CC 2015
ข้อเสนอแนะ
- การถ่ายภาพในสถานที่จริง ขาดแสงสว่างทำให้เกิดปัญหาในระหว่างการถ่ายทำ จึงควรเตรียมอุปกรณ์ชุดไฟ LED และ Flash ไปด้วย
- ควรตั้งค่ากล้องให้ถ่ายทั้ง JPG และ RAW File และปรับโหมดถ่ายภาพเป็นขาวดำ เพื่อเวลาถ่ายจะได้สามารถมองเห็นโทนเป็นภาพขาวดำ และส่วนไฟล์ที่เป็นภาพสีสามารถนำมาปรับแต่งในโปรแกรมให้กลายเป็นภาพขาวดำได้ในโปรแกรม
- ตำแหน่งของตัวแบบและ Color Checker ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน
- ขั้นตอนก่อนการถ่ายภาพ ต้องใช้เวลาในการวัดแสง หาโซน (Zone) ค่อยข้างใช้เวลาพอสมควร จึงไม่เหมาะกับการใช้ระบบ (Zone System) มาถ่ายภาพแนววิถีชีวิตหรือสิ่งที่เคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง
- ขั้นตอนการอัดขยายภาพ ควรเลือกใช้กระดาษที่มีคุณสมบัติเฉพาะ เพื่อที่จะได้มาซึ่งภาพที่มีค่าสีที่ถูกต้อง