THE COMPARISON OF MASS COMMUNICATION TECHNOLOGY STUDET’S PERCEPTION VIA MCT RADIO NETWORK
จัดทำโดย กิตติบูรณ์ สืบเพ็ง;ศุภวิชญ์ สุขสถิตย์ และ สันติธร สะสม
หลักสูตร เทคโนโลยีสื่อดิจิทัล
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
ปริญญานิพนธ์เรื่อง เปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารผ่านวิทยุออนไลน์ ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์ และศึกษากระบวนการประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านระบบวิทยุออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารจากทางคณะ ฯ หรือทางมหาวิทยาลัยฯ โดยกลุ่มผู้ศึกษาได้จัดทำระบบวิทยุออนไลน์
วิธีการศึกษาเริ่มจากการศึกษาทฤษฎีและกระบวนการของระบบวิทยุออนไลน์ด้วยโปรแกรม SHOUTcast Server, Sam Broadcaster, Winamp และทำการสำรวจการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ก่อนพัฒนาระบบ จากนั้นเริ่มการจัดทำระบบวิทยุออนไลน์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการจัดทำระบบวิทยุออนไลน์ ดำเนินการทดลองออกอากาศวิทยุออนไลน์เป็นระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้กลุ่มตัวอย่างที่คัดเลือกจำนวน 100 คน ทำแบบสอบถามสำรวจการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์หลังจากการพัฒนาระบบ แล้วจึงสรุปผลด้วยวิธีคำนวณค่าทางสถิติและประเมินเชิงคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคระบบวิทยุออนไลน์
จากการศึกษาเรื่อง การเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารผ่านวิทยุออนไลน์ของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีผลการรับรู้ข่าวสารคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับก่อนและหลังการออกอากาศสถานีวิทยุบนระบบอินเทอร์เน็ต แม้ว่า ระบบวิทยุออนไลน์นั้นจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการกระจายเสียง ทั้งในเรื่องคุณภาพของสัญญาณเสียง ซึ่งแตกต่างจากการออกอากาศภาคพื้นดินแบบเดิม ที่อาจเกิดมีคลื่นแทรกและมีข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การให้บริการ ซึ่งผู้เชียวชาญให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับผลการประเมิน คือ ในการออกอากาศในระบบวิทยุออนไลน์นั้นจะต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ต้องสร้างรูปแบบเนื้อหาของรายการที่สามารถดึงดูดกลุ่มผู้ฟังมารับฟังวิทยุออนไลน์ จากการตั้งสมมติฐานไว้ว่า การจัดทำสถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์ ทำให้การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพดีขึ้น ไม่เป็นดังสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เนื่องจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามพบว่า ประสิทธิภาพการรับรู้ข่าวสารของกลุ่มเป้าหมาย อยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง และจากแบบสำรวจนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชนยังมีการรับฟังวิทยุอยู่ วิทยุออนไลน์จึงเป็นช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารของทางคณะ
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
- เพื่อพัฒนาสถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์
- เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านสถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์
สมมติฐานการศึกษา
สถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์ ทำให้การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพดีขึ้น
ขอบเขตการศึกษา
- ระบบวิทยุออนไลน์ในส่วนของ Server ซึ่งให้บริการวิทยุผ่านเว็บไซต์
- จัดทำระบบ Streaming Server
- มีระบบเว็บไซต์ที่สามารถรับฟังการกระจายเสียงของทางสถานีผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต โดยสามารถรับฟังได้จากเว็บไซต์ของคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- การศึกษาในครั้งนี้เป็นเพียงการศึกษากระบวนการและเพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการนำสัญญาณเสียงจากสถานีวิทยุมาออกอากาศเท่านั้นไม่ได้ครอบคลุมถึงการจัดทำรายการและผังรายการของสถานีวิทยุ
- คุณภาพของการรับฟังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของระบบอินเทอร์เน็ตของผู้ฟัง
- ขอบเขตด้านเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา
- ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย
- เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Streaming Server)
CPU: Single quad core, 2.50 GHz. or better
RAM: 4GB Disk: 2 or more in RAID 0 (striping)
Network: 1Gbps Ethernet - เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Client) หรือสมาร์ตโฟน (Smartphone)
สาหรับผู้ฟังเป็นสเปคที่ใช้งานโดยทั่วไป
- เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Streaming Server)
- ซอฟต์แวร์ที่ใช้
- Web Browser Internet Explorer
- SHOUTcast Streaming
- SAM Broadcaster
- SHOUTcast Plugin
- Jetcast
- Simplecast
- ฮาร์ดแวร์ ประกอบด้วย
- ขอบเขตด้านประชากร
- ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยุออนไลน์จานวน 2 คน โดยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง
- นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จากจำนวนประชากรทั้งหมด 2,129 คน เลือกสำรวจกลุ่มตัวอย่างจำนวน 100 คนซึ่งได้จากการใช้ทฤษฎีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ
- ตัวแปรที่ศึกษา
- ตัวแปรต้น คือ นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
- ตัวแปรตาม คือ การเปรียบเทียบการรับรู้ข่าวสารของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
- ตัวแปรควบคุม คือ กระบวนการในการจัดทาวิทยุออนไลน์
นิยามศัพท์เฉพาะ
- วิทยุออนไลน์ คือ ช่องทางหนึ่งของการออกอากาศสัญญาณเสียงผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยรับสัญญาณเสียงมาจากสถานีวิทยุที่มีการออกอากาศผ่านคลื่นความถี่ นำมาออกอากาศผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน
- สื่อประชาสัมพันธ์ เป็นตัวกลางในการกระจายข่าวสารไปยังผู้รับ โดยในที่นี้จะใช้สื่อด้านเสียงในการเป็นตัวกลางในการส่งข่าวสารจากสถานีวิทยุไปยังผู้ฟัง
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
- ได้สถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
FM. 107.75 MHz. ในรูปแบบออนไลน์ - ได้ทราบถึงกระบวนการในการจัดทาระบบวิทยุออนไลน์
- ได้ทราบถึงประสิทธิภาพการรับรู้สื่อของกลุ่มเป้าหมายผ่านวิทยุออนไลน์
- ได้ช่องทางในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่
สรุปผลการศึกษา
- ด้านประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร
ประเด็นที่ได้ตั้งสมมติฐานการศึกษาไว้ว่า สถานีวิทยุเครือข่ายการศึกษาเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี FM. 107.75 MHz ในรูปแบบออนไลน์ ทำให้การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารมีประสิทธิภาพดีขึ้น จากการประเมินในเชิงปริมาณ ผลปรากฏว่า ประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสารผ่านระบบวิทยุออนไลน์ ไม่เป็นดังสมมติฐานเนื่องจากการสำรวจด้วยแบบสอบถามพบว่า นักศึกษาเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มีผลการรับรู้ข่าวสารคงที่หรือเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก เมื่อเทียบกับก่อนและหลังการออกอากาศสถานีวิทยุบนระบบอินเทอร์เน็ต อาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ หรือรูปแบบรายการที่ออกอากาศ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ คุณธเนศ กริสแก้ว ว่า “ระบบวิทยุออนไลน์ สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายและหลายช่องทางกว่าการออกอากาศแบบวิทยุแบบคลื่นความถี่ แต่การผลิตรูปแบบของรายการที่จะนำเสนอสู่ผู้ฟังออกนั้นก็สาคัญ เพราะสามารถทำให้ประสิทธิภาพในการรับฟังจากรายการนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดทารายการ” - ด้านกระบวนการและคุณภาพของระบบวิทยุออนไลน์
จากการศึกษากลุ่มผู้ศึกษาได้จัดทำระบบวิทยุออนไลน์เพื่อทำการประเมินควบคู่ไปกับการประเมินประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสาร และดำเนินการออกอากาศเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวไว้ และเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ในลักษณะการให้บริการสถานีวิทยุออนไลน์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ผู้ฟังสามารถรับฟังได้จากสมาร์ตโฟนหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์พกพา ได้ในทุกพื้นที่ที่มีเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยระบบวิทยุออนไลน์นั้นเป็นการประยุกต์ใช้ระบบสตรีมมิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องให้บริการรับสัญญาณเสียงจากแหล่งกำเนิดสัญญาณ เช่น รับสัญญาณเสียงจากสถานีวิทยุ หรือจากการจัดรายการ จากนั้นจะแปลงสัญญาณนั้นให้เป็นข้อมูลแบบดิจิทัล พร้อมบีบอัดให้เหมาะสมเพื่อส่งต่อไปยังผู้ฟัง โดยมีข้อแม้ว่า ผู้ฟังต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลาการฟัง เพื่อแก้ปัญหาในด้านการออกอากาศและพื้นที่การให้บริการที่มีสัญญาณรบกวน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประชาสัมพันธ์ข่าวสารต่าง ๆ ให้แก่คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน
ข้อเสนอแนะ
ระบบวิทยุออนไลน์หรือหน้าเว็บไซต์ผู้ฟังสามารถเพิ่มเติมฟังก์ชั่นต่าง ๆ ได้มากกว่านี้ และ ในปัจจุบันเกิดเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งผู้ที่จะพัฒนาต่อสามารถนาเทคโนโลยีอื่น ๆ มาต่อยอดจากระบบนี้ได้
- ในส่วนของเซิร์ฟเวอร์ ให้พัฒนาการบันทึกรายการในช่วงเวลานั้น
- ในส่วนหน้าเว็บไซต์ต้องพัฒนาการแสดงส่วนผังรายการ ชื่อผู้จัด หรือถ้าเป็นเพลงสามารถแสดงชื่อเพลง ศิลปิน
- ในส่วนหน้าเว็บไซต์ควรจะพัฒนาเพิ่มเติมให้สามารถเลือกช่วงรายการฟังย้อนหลัง
- ในส่วนหน้าเว็บไซต์วิทยุออนไลน์ควรจะทำให้สามารถแสดงจำนวนผู้ฟังและสามารถแสดงแถบอีควอไลเซอร์