THE PRODUCTION OF INTERACTIVE MOVIE AUDIENCE BE ABLE TO SELECT TIMELINE IN MOVIE
จัดทำโดย รวีชล กล้าหาญ และ ณัฐภัทร ใหม่เอี่ยม
สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ (Abstract)
ในการศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการผลิตภาพยนตร์ทางเลือก (INTERACTIVE MOVIE) “Virus One” ซึ่งมีความยาว 17 นาที ผู้ผลิตได้ทำการผลิตภาพยนตร์ Interactive Movie โดยมีเนื้อหาที่แสดงถึงด้านการผลิตและองค์ประกอบในภาพยนตร์ นอกจากนั้นทางผู้ผลิตยังได้ศึกษาเพิ่มเติมในเรื่อง Visual Effect และการตัดต่อ เพื่อเป็นการประเมินความชื่นชอบและความสนใจในตัวภาพยนตร์จากบุคคลทั่วไป
ถ่ายทำด้วยกล้อง 7D Mark II บันทึกลง SD Card และนำมาตัดต่อบนคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการ Windows 10 ด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6 ร่วมกับโปรแกรม Adobe After Effect CS6 และอัพโหลดขึ้นเว็บไซน์ YouTube
หลังจากนั้นนำภาพยนตร์ มาสรุปผลโดยใช้ข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมาจากการตอบแบบสอบถามของกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มีความชื่นชอบในการชมภาพยนตร์จำนวนทั้งหมด 50 คน โดยแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้
ตอนที่ 1 ด้าน Interactive Movie
ตอนที่ 2 ด้าน Visual Effect
ตอนที่ 3 ด้าน Editing
ผลจากการศึกษาพบว่า ผู้ศึกษามีความรู้และความเข้าใจในขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์ Interactive Movie และสามารถผลิตสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้ศึกษาสามารถผลิตภาพยนตร์ทางเลือกได้ และสามารถนำไปศึกษาพัฒนาต่อ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ได้ศึกษาการผลิตภาพยนตร์บันเทิงในรูปแบบใหม่
ขอบเขตการศึกษา
การศึกษาการผลิตภาพยนตร์บันเทิงโดยให้ผู้ชมสามารถกำหนดการดำเนินของเนื้อเรื่องได้ โดยการผลิตภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า “Virus One” โดยใช้ระยะเวลา 17 นาที มีรายละเอียดดังนี้ ทำการศึกษาข้อมูลเอกสารต่าง ๆ และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเขียนบทภาพยนตร์และผลิตภาพยนตร์ ซึ่งอุปกรณ์ที่จะใช้นั้นมีดังนี้ กล้อง DSLR รุ่น Canon 7D Mark II เลนส์ Canon EF 18-135mm f/3.5-5.6 IS STM และไมค์ Rode Video Mic ตัดต่อผ่านโปรแกรม Adobe Premiere Pro CS6, Adobe After Effect CS6 และ DaVinci Resolve 12 นำภาพยนตร์มา Upload ขึ้น YouTube และนำไปให้กลุ่มบุคคลทั่วไปจำนวน 50 คน ชมภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ และคำนวณค่าโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เพื่อเป็นข้อมูลเชิงสถิติและจากนั้นจึงเรียบเรียงเป็นบทสรุปของการทดลองในครั้งนี้
สรุปผลการศึกษา
ผลจากการประเมินจากกลุ่มบุคคลทั่วไปแล้ว สรุปออกมาใน 3 ประเด็น คือ ด้าน Interactive Movie, ด้าน Visual Effect, ด้านการตัดต่อ (Editing)
ด้าน interactive movie ในส่วนของความน่าสนใจในตัวภาพยนตร์อยู่ในระดับดีและความสะดวกในการกดนั้นอยู่ในระดับดีเช่นเดียวกัน แต่ส่วนของ timeline ยังคงไม่ซับซ้อนมาก บางครั้งผู้ชมยังคงต้องการให้ตัวเลือกและเส้นเรื่องมีมากกว่านี้หรือน้อยลงกว่านี้ แต่โดยรวมของการศึกษาส่วนนี้ อยู่ในระดับ ปานกลาง ซึ่งสำหรับภาพยนตร์แนวนี้ถือว่ามีความแปลกใหม่พอสมควร
ซึ่งสอดคล้องกับการรีวิวในบทความของ จักรพงศ์ บทเว็บไซต์ thumbs up ได้กล่าวมาส่วนหนึ่งว่า การนำเสนอแบบ Interactive ที่เปิดให้ผู้ชมภาพยนตร์ร่วมสนุกไปด้วยอันนี้ ทำให้เรานึกถึงภาพยนตร์สั้น Interactive อย่าง Hell Pizza ขึ้นมาการสร้างความแตกต่างไปมากกว่าการเลือกว่าจะเดินซ้าย หรือเดินขวา เช่น ต้องกดปุ่มตามกำหนดเวลาให้ได้
ด้าน Visual Effect โดยรวมถือว่าอยู่ในระดับดี ในส่วนของ Effect ยิงปืนนั้น ถือว่าสมจริงอยู่ในระดับหนึ่งแต่ยังคงไม่มากพอ เพราะว่าการดูด้วยความเร็ว ทำให้มีผลค่อนข้างดี แต่ก็ควรเพิ่มความประณีตเข้าไปอีก เช่นควรมีควันเพื่อเพิ่มความสมจริง
ซึ่งสอดคล้องกับคลิปสอนการทำ Muzzle Flash ของ คุณนิพันธ์ จ้าวเจริญพร ซึ่งได้กล่าวไว้ว่า Muzzle Flash ก็คือ Effect การยิงปืน เมื่อปืนได้ถูกยิงออกไป Muzzle Flash ที่เกิดจากปลายกระบอกปืนนั้นจะมีเพียงแค่เสี้ยววินาทีเท่านั้น และปืนแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันออกไปเพราะฉะนั้นจึงจำเป็นต้องศึกษาการเคลื่อนของสไลด์ว่าเคลื่อนได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะทำให้ Muzzle Flash มีความสมจริงและความรุนแรงมากขึ้น
ด้านการตัดต่อ (Editing) ซึ่งการตัดต่อโดยรวมอยู่ในระดับดีในส่วนของการเชื่อมโยงฉากซึ่งมีความต่อเนื่องในบางฉากทำให้ผู้ชมไม่สะดุดระหว่างชม และ เสียงที่นำเข้ามาอยู่ในระดับดีแต่เสียงคนพูดนั้นยังเบาอยู่มากและดังเบาไม่เท่ากัน แต่โดยรวมแล้วเรื่องการตัดต่ออยู่ในระดับ ปานกลาง
ซึ่งสอดคล้องกับเอกสารของ คุณเชาวนันท์ เชฏฐรัตน์ ได้กล่าวเรื่องเสียงไว้ว่า ดนตรี เป็นอวัจนภาษาที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และจินตนาการของผู้ฟังทั้งภาพยนตร์ซึ่งสามารถสื่อทั้งภาพและเสียงในเวลาเดียวกันจึงใช้ดนตรีเพิ่มความหมายแก่ภาพและเสียงพูด หรือ
วัจนภาษาอื่น ๆ เสียงประกอบ (Sound Effect) เป็นเสียงที่ไม่ใช่ถ้อยคำนำเอามาประกอบภาพเพื่อเพิ่มเติมรายละเอียดและความสมจริงสมจังของเรื่องราวแก่ผู้ชม ทำให้ผู้ชมเกิดอารมณ์คล้อยตาม และเชื่อถือภาพที่ได้เห็น และ คำสนทนา (Dialogue) เป็นรูปแบบหนึ่งของวัจนภาษาซึ่งผู้ชมคุ้นหูมากที่สุดในบรรดาเสียงจากธรรมชาติสำหรับสื่อภาพยนตร์และวิทยุโทรทัศน์ส่วนใหญ่ มักสื่อความหมายโดยใช้คำสนทนาควบคู่หรือผสมไปกับภาพเสมอ แม้ว่าบางฉาก บางตอน จะสามารถใช้กิริยา ท่าทาง และสีหน้าผู้แสดงเพียงอย่างเดียวก็สื่อความหมายให้ผู้ชมเข้าใจได้ แต่ก็ยังคงมีหลาย ๆ ฉาก หลาย ๆ ตอนที่ต้องอาศัยคำสนทนาเข้าช่วยเพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจ