The Study of Documentary film to promote tourism. Of Mae Ping Padaeng Luang National Park, Lamphun Province with 5.1 Surround sound system.
จัดทำโดย วัชรพงศ์ ธนะวาสน์;นนทพันธ์ สุขอุดม;จาตุรนต์ อัมพรจรัส และ ธนกร สรรเสริญ
สาขา เทคโนโลยีการถ่ายภาพและภาพยนตร์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ (Abstract)
ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตภาพยนตร์สารคดีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติแม่ปิงผาแดงหลวง จังหวัดลาพูน โดยใช้ระบบเสียง 5.1 นำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวของผาแดงหลวงให้มีความน่าสนใจ และประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ถ่ายทำโดยใช้กล้อง DSLR ยี่ห้อ Canon รุ่น 5D Mark III บันทึกเสียงโดยใช้เครื่องอัดเสียง ยี่ห้อ Zoom รุ่น H6 และทำการตัดต่อด้วยโปรแกรม Adobe Premiere Pro CC นำไปฉายให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านภาพ 3 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญด้านเสียง 3 ท่าน จากนั้นทำการประเมินประสิทธิภาพของสื่อโดยให้ทำแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพด้านการผลิตภาพยนตร์สารคดี
จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ระบบเสียง 5.1 เหมาะสมกับการผลิตภาพยนตร์สารคดีเพราะทำให้มีความน่าติดตาม และทำให้มีความสมจริงมากขึ้น เนื้อหาของภาพยนตร์สื่อความหมายออกมากได้อย่างชัดเจน ระยะเวลาของสื่อค่อนข้างยาวเกินไป
อภิปรายผลการศึกษา
จากการประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลงานภาพยนตร์สารคดีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยใช้ระบบเสียง 5.1 ทำให้เสียงในภาพยนตร์มีความสมจริงและน่าติดตามยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ
มาโนช ชุ่มเมืองปัก (2555 : 2-3) กล่าวว่า ภาพยนตร์ที่ใช้วิธีการใด ๆ ก็ตามในการบันทึกแง่มุมต่าง ๆ ของความเป็นจริงลงบนแผ่นฟิล์มจะโดยการถ่ายทอดเหตุการณ์จริงหรือสร้างสถานการณ์ที่เหมือนจริงและสมเหตุสมผลขึ้นก็ได้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งเร้าความอยากรู้ละขยายขอบเขตความเข้าใจของคนเราให้กว้างออกไป
ประกิจ โชติจรัสอาภรณ์ (สัมภาษณ์, 2561) มุมภาพน่าสนใจ แต่ถ้าเลือกเวลาถ่ายให้ดีก็จะได้แสงธรรมชาติที่สวยงามยิ่งขึ้นทำให้ภาพน่าสนใจกว่านี้ได้ ซึ่งสอดคล้องกับ แพรวา ศิริอมตวัฒน์ (2536:13-18) กล่าวว่า รายการสารคดีประเภทละคร (The Dramatized Documentary) ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของความจริง เนื่องจากข้อเท็จจริงนั้นเป็นเรื่องธรรมดา ขาดสีสันการนำเสนอโดยตรงนั้นจะทำให้ขาดความสนใจ จึงต้องนำองค์ประกอบของละครเข้ามาใช้ให้เป็นประโยชน์ เป็นการแสดงตามบทที่เขียน ขึ้นฉากจะมีลักษณะใกล้เคียงกับสถานที่จริงหรือจะเป็นสถานที่จริงเนื้อเรื่อง
ปานเทพ ปูรณะสุคนธ (สัมภาษณ์, 2561) ระบบเสียง 5.1 มีความเหมาะสมต่อการทำภาพยนตร์สารคดี เพราะทำให้มีความสมจริงและน่าติดตามยิ่งขึ้น แต่อาจจะต้องเพิ่ม Sound Design และ Foley ลงไปเพื่อให้เสียงมีมิติมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ คำจำกัดความภาพยนตร์สารคดีของสหพันธ์ภาพยนตร์สารคดีโลก (2491) ว่า วิธีการใด ๆ ก็ตามในการบันทึกแง่มุมต่าง ๆ ของความเป็นจริงลงบนแผ่นฟิล์มจะโดยการถ่ายเหตุการณ์จริง หรือสร้างสถานการณ์ที่เหมือนจริง และสมเหตุผลขึ้นก็ได้ เพื่อจะกระตุ้นอารมณ์ หรือเหตุผลในกลุ่มผู้ดูโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งเร้าความรู้และขยายขอบเขตของความรอบรู้และความเข้าใจของคนเราให้กว้างขวางออกไป
ผู้ศึกษาสามารถวิเคราห์ได้ว่า ภาพยนตร์สารคดีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถทำให้นำเสนอเรื่องราวตามความจริงได้สนุก น่าติดตามยิ่งขึ้น และเสียงระบบ 5.1 ทำให้เกิดความสมจริง และเพลิดเพลินไปกับธรรมชาติ ซึ่งสอดคล้องกับ ธีรภาพ โลหิตกุล (2544 : 152) กล่าวว่า สารคดี คือ การนำเสนอความจริงอย่างสร้างสรรค์สารคดีมิใช่แบบเรียน แต่เป็นส่วนหนึ่งของความบันเทิง แต่เป็นความบันเทิงที่ได้สาระ