The development of science calculating skills by using think-pair-share and play-game techniques of the 3rd secondary education students
โดย ธนชุดา อาจวงศา
ปี 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดผสานกับเทคนิคการเล่นเกม 2) เปรียบเทียบ
ทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปกติ และ 3) เปรียบเทียบทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ระหว่างกลุ่มทดลองที่การจัดการเรียนรู้ โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิด
ผสานกับเทคนิคการเล่นเกม และกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปกติ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี ภาคเรียนที่2 ปี การศึกษา 2560 จำนวนนักเรียน 100 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม แบ่งตามกลุ่มทดลอง 50 คน และกลุ่มควบคุม 50 คน เครื่องมือที่ใช้ใ การวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดผสานกับเทคนิคการเล่นเกม แผนการจัดการเรียนรู้ปกติ และแบบทดสอบวัดทักษะก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดผสานกับเทคนิคการเล่นเกม สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ปกติ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ทักษะการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดผสานกับเทคนิคการเล่นเกม สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วย