Relationship between perception/data recognition pattern and acceptance of communication through through online media by Rajamangala University of Technology Thanyaburi students

โดย  เบญสิร์ยา ปานปุญญเดช  (หัวหน้าโครงการ) และ วรรณ์วิสาข์ โพธิ์มณี (ผู้ช่วยวิจัย)

ปี 2559


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้สื่อออนไลน์ 2) เพื่อศึกษารูปแบบการรับรู้ข้อมูล 3) เพื่อศึกษาการยอมรับการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ ต่อการยอมรับการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ และ 5) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการรับรู้ข้อมูล ต่อการยอมรับการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน  394 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test One-Way ANOVA  LSD และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์

ผลการวิจัยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 22 ปี ศึกษาชั้นปีที่ 3 อยู่ในคณะบริหารธุรกิจ ใช้งานสื่อออนไลน์ที่ที่พักอาศัย ใช้อินเทอร์เน็ต 6 ชั่วโมงต่อวัน และเข้าใช้บริการสื่อออนไลน์เวลา 20.00-24.00 น.

ผู้ตอบแบบสอบถามให้คะแนนเฉลี่ย รูปแบบการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ของ มทร.ธัญบุรี การรับรู้สื่อออนไลน์ของ มทร.ธัญบุรี และการยอมรับรูปแบบการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ อยู่ในระดับมาก

ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าสถานภาพส่วนบุคคลด้าน ชั้นปี และคณะ มีการยอมรับและรับรู้ต่อรูปแบบการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 รูปแบบ การสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ของ มทร.ธัญบุรี การรับรู้สื่อออนไลน์ของ มทร.ธัญบุรี อีกทั้งรูปแบบการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์ ของ มทร.ธัญบุรี และการรับรู้สื่อออนไลน์ ของ มทร.ธัญบุรี โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์ในระดับค่อนข้างสูงกับการยอมรับรูปแบบการสื่อสารข้อมูลองค์กรผ่านสื่อออนไลน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


Abstracts

­The objectives of this research were to 1) study awareness of online media 2) study the form of data recognition 3) study acceptance of communication through online media 4) find relationship between awareness and acceptance of communication through online media, and 5) find relationship between form of data recognition and the acceptance of communication through online media of Rajamangala University of Technology Thanyaburi students.

The main method used in this research was using questionnaires as a tool to collect data used in education. The sample group was 394 Rajamangala University of Technology Thanyaburi students who study undergraduate in the academic year 2016. Data analysis was done by statistical methods, such as percentage, mean, standard deviation, T-test, One-way ANOVA, LSD, and correlation coefficient.

The results showed that the majority of respondents were male, aged 22 years, who are studying 3rd year undergraduate in the Faculty of Business Administration. They gained access to the internet 6 hours per day and they use online media at 8 pm to midnight at the residence.

Respondents gave an average score of communication through online media, online media recognition, and acceptance of the form of data communication through online media of Rajamanagala University of Technology Thanyaburi at “high” level.

The results of the hypothesis test found that the personal status in year or study and major has difference in acceptance and recognition of online media, which is statistically significant at the level of .05. Data communication through online media, awareness of online media, and the form of communication through online media have an overall high level of relationship to acceptance of online media, which is statistically significant at the level of .01.

 

Downloadความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้/รูปแบบการรับรู้ข้อมูล และการยอมรับการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี