โดย: คมกริช พุ่มเกิด
ปี: 2562

สาระสังเขป


การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal) เป็นเครื่องมือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ เช่นเดียวกับการศึกษาและการฝึกอบรมโดยมีความสำคัญในกับการปรับเลื่อนเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้นมากกว่าที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรอย่างจริงจังซึ่งบุคลากรต้องพร้อม และเหมาะสมกับการปฏิบัติงานจะได้สอดคล้องกับความต้องการ เป้าหมายของมหาวิทยาลัย และหน่วยงาน โดยทั้งเป็นการพัฒนาตนเองในระยะยาวเพื่อให้สามารถเติบโตในเส้นทางสายอาชีพของตนเองด้วย

ดังนั้นการแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 เมื่อ พ.ศ.2551 ได้มีผลทำให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติราชการเพื่อให้สอดรับกับประกาศสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2553 ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมงคลธัญบุรี ว่าหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2554 และประกาศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ การเลื่อนเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2559 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ชัดเจนมากขึ้น

การประเมินผลการปฏิบัติงานที่ดีต้องสามารถที่จะประเมินผลของบุคลากรออกมาได้อย่างถูกต้อง เป็นที่ยอมรับของบุคลากร โปร่งใสและยุติธรรม สามารถที่จะนำไปปรับปรุงระบบการพัฒนาบุคลากรได้ ดังนั้น กองบริหารงานบุคคล จึงจัดทำการวิเคราะห์ถึงสาเหตุ หรือปัญหาของการประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากรของมหาวิทยาลัยเพื่อนำไปสู่การพัฒนาบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ

Donwload:งานวิเคราะห์ประสิทธิภาพผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี