Guidelines for​ Press Release Development of Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย อลงกรณ์ รัตตะเวทิน

ปี 2563


บทคัดย่อ

การเขียนพาดหัวข่าวเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งของโครงสร้างข่าวเพื่อใช้ในการรายงานข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่งในข่าวประชาสัมพันธ์ที่นักประชาสัมพันธ์จะต้องเขียนและส่งข่าวด้วยวิธีการเผยแพร่ข่าวสารไปยังสื่อมวลชนโดยเฉพาะสื่อสิ่งพิมพ์ และบ่อยครั้งที่บรรณาธิการข่าว อาจต้องนำไปปรับหรือเขียนใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับเนื้อที่และสอดคล้องกับแนวทางของสื่อสิ่งพิมพ์นั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาประเด็นดังกล่าว โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์รูปแบบประโยคพาดหัวข่าว 2) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการใช้ภาษาพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ และ 3) เพื่อเสนอแนะแนวทางการเขียนพาดหัวข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและใช้ตารางลงรหัสเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ จากกฤตภาคข่าวออนไลน์ในปีการศึกษา 2561 – 2562

ผลการวิจัยสรุปได้ว่ารูปแบบประโยคพาดหัวข่าวที่นักหนังสือพิมพ์นิยมใช้ในการเขียนพาดหัวข่าวมีรูปแบบของประโยคที่ขึ้นต้นด้วยประธานมากที่สุด (ร้อยละ 56.07) ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นชื่อเรียกของหน่วยงานหรือชื่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชื่อของ “มทร.ธัญบุรี” ส่วนลักษณะการใช้ภาษาพาดหัวข่าวที่นิยมใช้มากที่สุดคือลักษณะการใช้คำเรียกชื่อและการใช้คำย่อ (ร้อยละ 20.56) โดยมีการใช้คำเรียกชื่อ“มทร.ธัญบุรี” ซึ่งเป็นชื่อมหาวิทยาลัย และการใช้คำย่อชื่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีว่า “มทร.ธัญบุรี”

ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า นักหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่ใช้รูปแบบประโยคพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ทั้งหมด 4 รูปแบบ และใช้ภาษาพาดหัวข่าวของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐทั้งหมด 18 ลักษณะ ซึ่งนำมาสู่ข้อเสนอแนะสำหรับนักประชาสัมพันธ์หรือผู้รับผิดชอบด้านงานข่าว คือ ควรพิจารณาผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางการพัฒนาการเขียนข่าวเพื่อการประชาสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีประกอบการเขียนพาดหัวข่าวภายใต้บริบทและความเหมาะสมของเนื้อหาข่าว


Abstract

Writing headlines is one of the important elements of news reporting structure especially for a press release. The Public Relations Officer has to write and send the news to mass media like the newspaper. And often, news editors may have to adjust or rewrite the press release to suit the space and the guidelines of that publication. Therefore, the researcher is interested in studying such issues. The objectives of this research were 1) to analyze the headline format, 2) to analyze the language of headline appeared in ThaiRath newspaper, and 3) to suggest the guidelines for press release development for the Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The methodology of this research was content analysis. The coding table was used as a tool for collecting headlines from online news clipping in the academic year of 2018 – 2019.

The research found that the headline format mostly used by the new reporters started with the subject of the sentence (56.07%) which most often was the name of the department or the organization especially the name of “RMUTT”. Nouns and acronyms, which are RMUTT, were the language of the headline most commonly used (20.56%).

The result also showed that the news reporter mostly used 4 headlines format. Appeared in the ThaiRath newspaper, the language of the headline of the Rajamangala University of Technology Thanyaburi news was used in 18 types. Therefore, the suggestion for the Public Relations Officer or those who are responsible for writing a press release is to consider these results as a guideline to develop the headline under the context and the news content.


DownloadGuidelines for​ Press Release Development of Rajamangala University of Technology Thanyaburi