The development of application for learning in topic of cell and cell structure to enhancing student’s scientific skills for secondary 1 (grade 7) students
โดย เกตุแก้ว ยิ่งยืนยง
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ เรื่อง เซลล์และโครงสร้างของเซลล์ เพื่อส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) ศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวังม่วง ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จานวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ แบบประเมินคุณภาพด้านสื่อและด้านเนื้อหา แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบประเมินความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีของกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระจากกัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) แอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ มีคุณภาพด้านสื่ออยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 และมีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.58 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.67/82.44 2) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 7.50/17.40 และ 4) ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อแอปพลิเคชันสำหรับการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60
ABSTRACT
The objectives of this research were to: 1) develop learning in topic of cell and cell structure to enhancing student’s scientific skills for secondary 1 (grade 7) students to meet the efficiency criterion of 80/80, 2) compare academic achievement scores, 3) study scientific skills and 4) evaluate student’s satisfaction towards the learning application.
The samples included 30 students chosen by lottery method of simple random sampling. The research instruments consisted of learning application, evaluation forms on media and content, achievement test, scientific skills assessment, and student’s satisfaction form. The statistics used to analyze the data were mean, standard deviation, and dependent t-test.
The research results showed that: 1) the quality of media and content of the learning application was at a very good level with an average score of 4.74 and 4.58, respectively, 2) the learners’ learning achievement was higher at the statistically significant difference level of .05, 3) students scientific skills higher with at the average of 7.50/17.40, and 4) the students were satisfied with the learning application at the level of 4.60.