Student citizenship behavior of faculty of business administration, Rajamangala university of technology Thanyaburi
โดย นันท์ธนภัส อัศวณัฏฐกร
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 3) ยืนยันองค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลเชิงลึก จำนวน 12 คน ด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) 2 กลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาและผู้บริหารหรืออาจารย์ และการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างจากนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 400 คน โดยเครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก นำมาสังเคราะห์บทสัมภาษณ์ผนวกกับแนวคิดทฤษฎีและจึงนามากำหนดข้อคาถามในแบบสอบถาม 2) การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) โดยมีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.927 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบจาลองโครงสร้างด้วยการยืนยันองค์ประกอบ โดยผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
ผลการศึกษาองค์ประกอบพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่ามีองค์ประกอบด้วยกัน 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) พฤติกรรมการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ (Altruism) 2) พฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่ (Conscientiousness) 3) พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น (Sportsmanship) 4) พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น (Courtesy) 5) พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ (Civic Virtue)
ผลการศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่าโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ซึ่งพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ พฤติกรรมการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อ พฤติกรรมการสำนึกในหน้าที่ พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น และพฤติกรรมการให้ความร่วมมือ ตามลำดับ
ผลการวิเคราะห์สมการโครงสร้างมาตรวัดเพื่อยืนยันองค์ประกอบการเป็นสมาชิกที่ดีของนักศึกษาคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์รายบุคคลเชิงลึกพบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยได้จาก ค่าไค-สแควร์ (X [Bar] [superscript2]) เท่ากับ 206.227 ค่าองศาอิสระ (d) เท่ากับ 177 ค่า X [Bar] [superscript2]/df เท่ากับ 1.165 ค่า GFI เท่ากับ 0.957 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.020 และค่า RMR เท่ากับ 0.020
Abstract
This research aimed at 1) studying students’ citizenship behavior of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 2) studying degree of students’ citizenship behavior of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 3) studying confirmative factors relate to students’ citizenship behavior of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. This research is based on qualitative research using in-depth interview interviewing 12 students and teachers. The purposive sampling method was applied. In addition, the research applied quantitative research by using questionnaires distributing to 400 students who is in 1st – 4th year. Research instrument was divided into two parts: 1) qualitative research used in-depth interview and its results obtained from interview was analyzed to produce the questionnaires and 2) quantitative research applied rating scale questionnaires with Cronbach’s alpha coefficient of 0.927. The statistics for data analysis included percentage, mean, standard deviation and confirmatory factor analysis. The result is shown as follows.
The result of factor analysis showed that citizenship behavior of the students of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, consisted of 5 dimensions: altruism, conscientiousness, sportsmanship, courtesy and civic virtue.
The study related to the citizenship behavior degree of students of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, revealed that its degree is averagely in high level: courtesy has the highest mean, followed by altruism, conscientiousness, sportsmanship, and civic virtue, respectively.
The confirmative factor analysis informed that students’ citizenship behavior in the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, was in good-fit model with (X [Bar] [superscript2]) = 206.227, (d) = 177, X [Bar] [superscript2]/df = 1.165, GFI = 0.957, RMSEA = 0.020, and RMR = 0.020.
Download: การแสดงพฤติกรรมที่ดีของนักศึกษาต่อคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี