The study of creative leadership of school administrators under Pathum Thani primary educational service area office 2
โดย เสาวณีย์ สมบูรณ์ศิโรรัตน์
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 315 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยใช้สูตรของ เครจซี่ และ มอร์แกน (Krejcie & Morgan) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 จำนวน 8 คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็นในด้านต่าง ๆ โดยใช้ค่าดัชนี PNI Modified และแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิง สร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ความต้องการจำเป็น (PNI modified) ของภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 พบว่า ด้านจินตนาการมีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด รองลงมา ด้านการแก้ปัญหา ด้านวิสัยทัศน์ ด้านความไว้วางใจ และภาวะผู้นำด้านความยืดหยุ่น ตามลำดับ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2 พบว่า ภาวะผู้นำด้านวิสัยทัศน์ผู้บริหาร สถานศึกษาต้องเป็นผู้ฟังที่ดี รับฟังเสียงสะท้อนจากภายนอก ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการบริหารแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำด้านจินตนาการผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นนักวางแผนที่ดี มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน หาทางออกของปัญหาและนำเสนอนโยบายไปสู่ความสำเร็จ ภาวะผู้นำด้านความยืดหยุ่นผู้บริหารสถานศึกษาต้องมีความมั่นคงทางอารมณ์ คาดการณ์ และตั้งรับเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นผู้รอบรู้ ใช้เทคโนโลยี เพื่อช่วยสืบค้น ใช้ข้อมูลช่วยตัดสินใจ ภาวะผู้นำด้านการแก้ปัญหาผู้บริหารสถานศึกษาต้องยึดกฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์เหตุแห่งปัญหา วางแผนดำเนินการตามลำดับ สื่อสาร สั่งการ ตรวจสอบ ภาวะผู้นำด้านความไว้วางใจผู้บริหารสถานศึกษาต้องเป็นแบบอย่างที่ดี ยึดหลักธรรมาภิบาล มอบงานตามความรู้ความสามารถของสมาชิก
Abstract
The purposes of this research were to study: 1) the current and desirable conditions of the creative leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, and 2) the guidelines for developing the creative leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2.
The sample consisted of 315 teachers under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, chosen by stratified random sampling using the Krejcie and Morgan formula. The key informants for interview were 8 school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2. The research instruments were questionnaire and interview form. The data analysis composed of descriptive statistics by percentage, mean, standard deviation, and the Modified Priority Needs Index (PNIModified), and content analysis.
The results showed that in an overview, the current and desirable condition of the creative leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2 was at a high level. This also showed that the Modified Priority Needs Index (PNIModified) of the creative leadership of an imagination viewpoint of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, has the highest PNI Modified value, followed by problem-solving, vision, trustworthiness, and flexible leadership, respectively. For the guidelines of developing the creative leadership of school administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 2, it was found that the leadership vision must be a good listener who listened to external reflection, accepted the differences between people with participatory management. The imaginationleadership must be a good planner with clear guidelines who found a solution to the problem and proposed a policy for success. The leadership flexibility viewpoint must possess the emotional stability that predicted and handled the potential events, and wellrounded to use technology for searching and making decisions. The problem-solving leadership must follow regulations and related principle, analyze the cause of the problem, plan the action respectively, communicate, order, and inspect the operation. The trustworthiness leadership must be good role models, practiced good governance, and assigned jobs according to knowledge and ability of members.