A Study of the Relationship Between Public Relations Channels and Educational Guidance Toward the Confidence in Studying for the Bachelor Degree at Rajamangala University of Technology Thanyaburi in the Academic Year 2020 of Vocational Students

โดย ศีจุฑา ปอน้อย และ ภริดา สนธ์หอม

ปี 2563


บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างช่องทางการประชาสัมพันธ์และการแนะแนวการศึกษากับความเชื่อมั่นในการเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2563 ของนักศึกษาสายอาชีวศึกษา โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสายอาชีวศึกษา ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในปีการศึกษา 2563 ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 162 ตัวอย่าง และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 251 ตัวอย่าง รวม 413 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t -test) และการทดสอบ (chi-square test)

ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความเชื่อมั่นในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับความเชื่อมั่นจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านการจัดการศึกษาด้านการมีงานทำ และด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยนักศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงมีความเชื่อมั่นในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 2) สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษา สายอาชีวศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรกคือเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย เฟซบุ๊กของมหาวิทยาลัย และการเข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวศึกษาต่อ/การเข้าร่วมจัดนิทรรศการแนะแนวศึกษาต่อในสถานศึกษา 3) ผู้ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อของนักศึกษามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ตนเอง ผู้ปกครองและครอบครัว และครูหรืออาจารย์ 4) สื่อประชาสัมพันธ์ประเภทเฟซบุุ๊กของมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับความเชื่อมั่นในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05


Abstract

This study aimed to study the relationship between public relations channels and educational guidance toward the confidence in studying for the bachelor degree at Rajamangala University of Technology Thanyaburi in the academic year 2020 of vocational students. The sample consisted of 162 vocational students at the Vocational Certificate level and 251 samples at the Higher Vocational Certificate level, selected for admission to Rajamangala University of Technology Thanyaburi in 2020, totalling 413 samples. The instrument was a questionnaire and analysed by descriptive statistics: frequency, percentage, mean, standard deviation, independent t-test for two samples, and the chi-square test.

The results were as follows:

1. The students had the highest confidence level in Rajamangala University of Technology Thanyaburi, ranking from highest to lowest, in management of education regarding having a job, the environment, and learning support, in which the students in the vocational certificate level and higher vocational certificate level had difference in confidence in Rajamangala University of Technology Thanyaburi at the statistical significance level of 0.05.

2. The top 3 media that influence the admission decision of vocational students were the university’s website, the university’s Facebook, and the participation in the exhibition of further education guidance or the exhibition of further education in educational institutions.

3. The top 3 groups of people who had the greatest influence on students’ admission decisions were the students themselves, their parents and families, and teachers.

4. The university’s public relations on Facebook were correlated with confidence in Rajamangala University of Technology Thanyaburi at a statistically significant level of 0.05


Download: A Study of the Relationship Between Public Relations Channels and Educational Guidance Toward the Confidence in Studying for the Bachelor Degree at Rajamangala University of Technology Thanyaburi in the Academic Year 2020 of Vocational Students