Factors affecting effectiveness of the operation in the internal quality assurance for Rajamanagala University of Technology Thanyaburi.

โดย สุวจี คันธมาศ

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และค่าสหสัมพันธ์เชิงถดถอย

ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวม เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านผู้นำองค์กร ด้านวัฒนธรรมองค์กร ด้านการบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านทรัพยากร และด้านระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุน (ICT) ส่วนประสิทธิผลในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในในภาพรวม เห็นด้วยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การนำผลการประเมินไปปรับปรุง (Action) การวางแผน (Plan) การติดตามตรวจสอบ (Check) และการดำเนินงานตามแผน (Do) จากผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การวิเคราะห์ถดถอยพหุขั้นตอน พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาในภาพรวม มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เท่ากับ .892 แนวทางการพัฒนำประสิทธิผลการดาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พบว่า ควรสร้างความเข้าใจให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน ทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อเกณฑ์การประกันคุณภาพและตัวชี้วัด SAR อย่างแท้จริง และมีความเข้าใจต่อกระบวนการประเมิน และจัดอบรมให้ความรู้ในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในให้กับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง


Abstract

The purposes of this survey research were 1) to study the level of factors affecting the effectiveness of the operation in the internal quality assurance for Rajamangala University of Technology Thanyaburi (RMUTT), and 2) to propose the development guidelines for the effective operation of the internal quality assurance for RMUTT. The samples were 400 RMUTT personnel. The instruments used in this research were a questionnaire. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, and multiple regression.

The research results found that factors affecting the effectiveness of the operation in the internal quality assurance for RMUTT was at a high level, and were ordered as follows: organizational leadership, organizational culture, management, personnel, resources, and ICT. The results of the overall effectiveness of the operation in the internal quality assurance for RMUTT was also at a high level, and could be ordered as follows: Action, Plan, Check and Do. The hypothesis testing with multiple regression revealed that the regression coefficient of the overall effectiveness of the operation in the internal quality assurance for RMUTT was 0.0892. For the development guidelines for the effective operation of the internal quality assurance for RMUTT, it is suggested that there should be getting related personnel on the same page, everyone takes full responsibility to fulfil criteria and indicators, and understands the assessment process. Moreover, the university personnel should be continuously trained on internal quality assurance.

Download: ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี