The Study of RMUTT Student Opinion on Art and Cultural Activity Online Participation in the Epidemic of CORONA Virus 2019 (COVID-19) Situation

โดย ฐิติรัตน์ เริ่มสอน

ปี 2563


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้นปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2563 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยผู้วิจัยใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน จากการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane จำแนกตามกลุ่มสาขาวิชา กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 167 คน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 59 คน กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ 10 คน และกลุ่มผสม 2 กลุ่มสาขาวิชา (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 164 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบ ตอนที่ 2 ความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ตอนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมในกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า One-way ANOVA โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ชั้นปีที่ 1-2 ปีการศึกษา 2563 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายหัวข้อพบว่า วัตถุประสงค์ในการเข้าร่วมกิจกรรม เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ รูปแบบการจัดกิจกรรม และอันดับสุดท้าย คือ ลักษณะของกิจกรรม ส่วนปัญหาและอุปสรรคการจัดกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในรูปแบบออนไลน์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่านักศึกษาทุกกลุ่มสาขาวิชามีปัญหาและอุปสรรคแตกต่างกัน ซึ่งจำแนกได้ 3 ประเด็น คือ เรื่องสัญญาณการเข้าถึงอินเตอร์เน็ตที่ไม่เสถียรภาพ เป็นอันดับ 1 รองลงมาคือ เรื่องสถานการณ์ต่าง ๆ ของสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต และอันดับท้ายสุดคือ เรื่องลักษณะรูปแบบของกิจกรรม ที่ให้นักศึกษาได้เข้าร่วม (จัดกิจกรรมโดยมีการเข้าร่วมในสถานที่จริง) ซึ่งเป็นผลมาจากความสนใจ ทัศนคติ ประสบการณ์ และวิถีชีวิตที่แตกต่างกันตามปัจเจกบุคคล


Abstract

The objectives of this research were to: 1) to examine opinions of art and cultural activity online of first-year and second-year RMUTT students in 2020 semester and 2) to research a problem and obstacle in art and cultural activity online of RMUTT. A sample was selected from 400 students base on sampling of Taro Yamane’s formula, classified by each program; 167 of Science and Technology students group, 59 of Humanities and Social students group, 10 of Health and Science students group, and 164 of two fields students group (Science and Technology field and Humanities and Social field). The study instrument used was questionnaire which divided by 4 parts, 1) General information of respondents which is multiple choice, 2) RMUTT students opinion of art and cultural activity online, 3) problems and obstacles to participate in art and cultural of RMUTT students and 4) advices of RMUTT students to develop and improve the art and cultural activity online. Data derived from questionnaire statistical tools, percentage, mean, standard deviation and One-way ANOVA by statically significant at 0.05

Research findings revealed the first-year and second-year RMUTT students in 2020 semester opinions of art and cultural activity online had the high level in overall which classified by topic showed that the objective of participation was the first, second was activity pattern and last was activity type. A problem and obstacle of art and cultural activity online of RMUTT presented all student groups had different problems and obstacles which divided by 3 points: 1) the internet signal was not stability, 2) the affect to way of life by social situation and 3) the activity type that students had to join and appreciation (by joining in the real location) arise from interesting, attitude, experience, and different custom by individual.


Download : การศึกษาความคิดเห็นต่อการเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ด้านศิลปวัฒนธรรมในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (Covid-19) ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี