Public participation in natural resource and environmental management in wang sombun district, sa kaeo province
โดย อัญมณี ทาทิตย์
ปี 2563
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ประชาชนที่มีรายชื่อในทะเบียนสำมโนครัวประชากรพักอาศัยอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว จำนวน 400 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และใช้สถิติในการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบใช้สถิติ t-test เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มี 2 กลุ่ม และใช้สถิติ One-Way ANOVA เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรอิสระที่มากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 95% (α = 0.05) และเมื่อพบความแตกต่างจึงทำการเปรียบเทียบเป็นรายคู่ด้วยวิธี LSD (Least Significant Difference) เพื่อทดสอบสมมติฐาน
ผลการศึกษาพบว่า การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมากที่สุด เป็นอันดับแรก รองลงมาเรื่องศึกษาผลการด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และอันดับสุดท้ายด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ และระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้วไม่แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 แต่ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ และรายได้แตกต่างกันมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์จังหวัดสระแก้ว แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Abstract
The objectives of this study were 1) to study the public participation in management of
natural resources and environment in Wang Sombun district, Sa Kaeo province, and 2) to study the relationships of public participation in natural resource and environmental management in Wang Sombun district, Sa Kaeo province.
The sample group used in this research is 400 people who are listed on the Population
Census and live in Wang Sombun district, Sa Kaeo province using random sampling methods. The instrument used in this research is a questionnaire. Data were analyzed using t-test correlation analysis to compare the differences between independent variables in two groups and using One-Way ANOVA statistics to compare differences between two or more independent variables at the statistical confidence level of 95% (α = 0.05). When the differences were found, they were compared in pairs by LSD (Least Significant Difference) to test the hypothesis.
The results of the study showed that the public participation in the management of
natural resources and environment in Wang Sombun district as a whole was at a high level.
Regarding the participation in benefit receipt, the participation was at the highest level. Next, the participation in operations and the participation in evaluation were at a high level. Lastly, the participation in decision making was at a high level. The results of the hypothesis testing showed that there was no statistically significant difference at .05 among people with difference in sex and educational levels, participating in the management of natural resources and environment in the area of Wang Sombun district, Sa Kaeo province. However, people with difference ages,
occupations and incomes, participating in the management of natural resources and environment in Wang Sombun district, Sa Kaeo province were statistically significant difference at .05.