The development of computer game by using active learning on the topic of basic programming for primary 1 (grade 1) students
โดย ชมพูนุษ์ บุญทศ
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเกมคอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนรู้เชิงรุก เรื่อง การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบปกติร่วมกับเกมคอมพิวเตอร์กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ และ 3) เปรียบเทียบความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนแบบปกติร่วมกับเกมคอมพิวเตอร์กับนักเรียนที่เรียนแบบปกติ
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดเขียนเขต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 72 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้อง จำนวน 36 คน ที่เรียนแบบปกติร่วมกับเกมคอมพิวเตอร์ และกลุ่มควบคุม 1 ห้อง จำนวน 36 คน ที่เรียนแบบปกติ ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) เกมคอมพิวเตอร์ 2) แผนการสอน และ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t–test)
ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมคอมพิวเตอร์ มีประสิทธิภาพ 82.15/81.55 2) นักเรียนที่เรียนแบบปกติร่วมกับเกมคอมพิวเตอร์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักเรียนที่เรียนแบบปกติร่วมกับเกมคอมพิวเตอร์ มีความคงทนในการเรียนรู้ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop a computer game by using active learning on the topic of basic programming for primary 1 (grade 1) students, 2) compare the learning achievement of students taught by normal teaching with computer game and those taught by normal teaching, and 3) compare the learning retention of students taught by normal teaching with computer game and those taught by normal teaching.
The sample group was selected by using multi-stage sampling including 72 primary 1 (grade 1) students from 2 classrooms at Wat Khienkhet School in the second semester of the 2018 academic year. One classroom was an experimental group involving 36 students taught by normal teaching with computer game while a control group consisted of 36 students taught by normal teaching. The research instruments used for data gathering consisted of 1) a computer game, 2) a teaching plan, and 3) a constructed achievement test. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t-test.
The research results showed that 1) the efficiency validation of computer game was at 82.15/81.55, 2) the students’ learning achievement taught by normal teaching with computer game was higher than those taught by normal teaching at significant difference level of 0.05, and 3) the students’ learning retention taught by normal teaching with computer game was higher than their peers taught by normal teaching at significant difference level of 0.05. This corresponded with a determined hypothesis.