โดย ศิริพร เจริญศรีวิริยะกุล
ปี 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลของสถานประกอบการที่ส่งผลต่อความคาดหวังในคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานประกอบการที่เคยรับนักศึกษาเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี ในปีการศึกษา 2563 – 2564 จำนวน 117 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Independent samples t-test, One-way ANOVA และวิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่โดยใช้ LSD
ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคาดหวังของสถานประกอบการที่มีต่อคุณลักษณะของนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ= 4.06, σ= 0.23) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน มีความคาดหวังอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (μ= 4.23, σ= 0.47) ด้านความรู้ (μ= 4.11, σ= 0.58) ด้านคุณธรรมจริยธรรม (μ= 4.09, σ= 0.43) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ (μ= 3.99, σ= 0.44) ด้านทักษะทางปัญญา (μ= 3.88, σ= 0.49) ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความคาดหวัง พบว่า เพศที่ต่างกันมีความคาดหวังที่มีผลต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกัน ตำแหน่งงานและประเภทสถานประกอบการ ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังที่มีผลต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านความรู้และด้านทักษะทางปัญญาแตกต่างกัน ส่วนขนาดของสถานประกอบการ ที่แตกต่างกันมีความคาดหวังที่มีผลต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบแตกต่างกัน และประเภทสถานประกอบการ ที่แตกต่างกันมี ความคาดหวังที่มีผลต่อคุณลักษณะของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
Abstract
This research aimed to 1) study the Expectations of Establishments on the Desired Characteristics of the Students for Professional Experience Practice under the Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) compare personal information individually that affects establishments on their expectations of the desired characteristics of the professional experience practice students. The research population included 117 establishments involved in the professional experience practice of the Faculty of Home Economics Technology, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The research instrument was a set of questionnaires. The percentage, mean and standard deviation, independent sample t-test, one-way ANOVA, and multiple comparison test by LSD were used for data analysis.
The findings showed that 1) the overall expectation of the establishments on the desired characteristics of the professional experience practice students was at a high level (μ= 4.06, σ= 0.23). The individual factor consideration was also at a high level: numerical analysis skills, communication and information technology skills (μ= 4.23, σ= 0.47), knowledge (μ= 4.11, σ= 0.58), morals and ethics (μ= 4.09, σ= 0.43), interpersonal skills and accountability (μ= 3.99, σ= 0.44), and cognitive skills (μ= 3.88, σ= 0.49). 2) The expectation comparison was found that gender showed no relation to the expectations of the establishments. Job positions and types of establishments showed different expectations in terms of knowledge and cognitive skills. The size of establishments influenced the expectations on interpersonal skills and accountability and types of establishments showed different expectations in terms of numerical analysis skills, communication and information technology statistically significant difference at the level of 0.05.