Influences of Perceived Self-efficacy and Technology Adoption in the Workplace on Employee Job Performance in a Logistics Department
โดย อัดชา พันธ์ทองหล่อ
ปี 2564


บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตน การนำเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยด้านบุคลากรที่แตกต่างกันมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ 3) เพื่อศึกษา อิทธิพลของการรับรู้ความสามารถแห่งตนที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ บริษัท ทีเอ็มที สตีล จำกัด (มหาชน) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 218 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถาม ที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาและความเชื่อมั่นก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ การวิเคราะห์ความแปรปรวน จำแนกทางเดียว และสมการถดถอยพหุคูณเชิงเส้น

ผลการศึกษาพบว่า โดยรวมระดับการรับรู้ความสามารถแห่งตน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงานและผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์ มีค่าอยู่ในระดับมาก ผลการ เปรียบเทียบ ปัจจัยด้านบุคลากร พบว่า เพศ อายุงาน สถานภาพสมรส และตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน ไม่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่แตกต่างกันมีผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์แตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่าการรับรู้ความสามารถแห่งตน และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานหน่วยงานโลจิสติกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Abstract

The purposes of this study were: 1) to study the levels of perceived self-efficacy, technology adoption in the workplace, and employee job performance within a logistics department, 2) to compare the differences in personal factors affecting employee job performance in a logistics department, 3) to examine the influence of perceived self-efficacy on employee job performance in a logistics department, and 4) to investigate the influence of technology adoption in the workplace on employee job performance in a logistics department.

The sample group used in this study were 218 employees in the logistics department of TMT Steel Public Company Limited in Phra Nakorn Si Ayutthaya province. The research instrument used to collect data was a questionnaire that was tested for content validity and reliability prior to data collection. Descriptive statistics as well as inferential statistics, including independent sample t-tests, one-way ANOVA, and multiple linear regression, were used to analyze data.

The study results showed that the overall level of perceived self-efficacy, technology adoption in the workplace, and the employee job performance in the logistics department were at a high level. Differences in personal factors of gender, work experience, marital status, and job position did not affect employee job performance in the logistics department. Conversely, differences in educational level and average monthly income affected the job performance of employees, in the logistics department, at a statistically significant level of .05. Moreover, it was found that the construct of perceived self-efficacy and technology adoption in the workplace influenced job performance of staff in the logistics department at a statistically significant level of .05.


Download: Influences of Perceived Self-efficacy and Technology Adoption in the Workplace on Employee Job Performance in a Logistics Department