Development of Natural Mosaic from Moringa Pods for Craft Products

โดย วรรณเพ็ญ ปิ่นประดับ

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับสภาพเปลือกฝักมะรุมให้เป็นโมเสกธรรมชาติ 2) ประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ 3) สำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ

วิธีดำเนินการวิจัย โดยการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการปรับนุ่มเปลือกฝักมะรุม ปัจจัยที่ทำการศึกษามี 2 ปัจจัย คือ ชนิดของสารแช่ปรับนุ่มฝักมะรุม แปรเป็น 2 ชนิด คือ สารนุ่มประจุบวกและกลีเซอรีน ระยะเวลาในการแช่ โดยแปรเป็น 3 ระดับ คือ 1, 3 และ 5 วัน ทำการวางแผนการทดลองแบบ Factorial in CRD ทดสอบสมบัติทางกายภาพ 5 ด้าน คือ ความต้านแรงดึง ความชื้น การวัดค่าสี การทดสอบความมันวาว และการทดสอบความหนา จากนั้นวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Duncan’s New Multiple Range Test จากนั้นประดิษฐ์ผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติ และสำรวจความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์งานประดิษฐ์จากโมเสกธรรมชาติจำนวน 100 คน

ผลการวิจัย พบว่า สภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการปรับนุ่มเปลือกฝักมะรุมคือ การใช้สารนุ่มประจุบวก และระยะเวลาในการแช่ 1 วัน ทำให้เปลือกฝักมะรุม มีค่าความต้านแรงดึง 4.15 N ค่าความชื้นน้อยที่สุด 3.21% ค่าความสว่าง (L*) สูงที่สุด 79.29% ค่าสีแดงและสีเขียว (a*) ปรากฏสีแดงน้อยที่สุด 4.01 ค่าสีเหลืองและสีน้ำเงิน (b*) ปรากฏสีเหลือง 31.62 ค่าความต่างสี (Delta E) สูงสุด 9.84 ค่าความหนาน้อยที่สุด 1.89 mm/inch ค่าความมันวาวสูงที่สุด 2.43 เปลือกฝักมะรุมนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์รูปแบบกล่องไม้สำหรับใส่กระดาษทิชชู แผ่นรองแก้ว และแจกันผู้บริโภคมีความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์โมเสกธรรมชาติจากเปลือกฝักมะรุมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 มีความพึงพอใจในด้านผลิตภัณฑ์นี้สามารถจัดจำหน่ายได้ ด้านวัสดุที่ใช้ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์นำไปใช้งานได้จริง โดยมีค่าเฉลี่ย 4.36 4.35 และ 4.29 ตามลำดับ


ABSTRACT

The objectives of this research were to: 1) study the optimum conditions to soften Moringa pods into natural mosaics, 2) create craft products from natural mosaics, and 3) survey consumer’s satisfaction towards craft products made from natural mosaics of Moringa pods.

The research method was designed to study the optimum conditions to soften Moringa pods. Two primary factors were types of conditioners, namely, cationic softener and glycerin and 3 levels of soaking duration which were 1, 3 and 5 days. The factorial in CRD method was applied to the experiments of natural mosaics’ physical properties under 5 categories i.e., tensile strength, moisture, color measurement, gloss and thickness. The Duncan’s New Multiple Range Test was later conducted upon analyzing the variance (ANOVA) and mean differences. When the experiment was accomplished, natural mosaics were recreated into artisan products and the assessment of customer satisfaction on the products was collected from 100 respondents.

The results revealed that the optimum condition to soften Moringa pods was to soak it in cationic softener for 1 day and that made the tensile strength of Moringa pods reach 4.15 N. The lowest value of moisture was 3.21% and the highest value of brightness (L*) was 79.29%. From the value of the red and green (a*) illuminant, red had the lowest value at 4.01. Apparently, the value of yellow in the yellow and blue (b*) appeared at 31.62. Furthermore, the highest value of color contrast (Delta E) was 9.84 and the lowest value of thickness was 1.89 mm/inch. The highest value of gloss depicts was 2.43. The Natural mosaic prototypes produced from Moringa pods were wooden boxes for tissue paper, coasters and vases. The overall satisfactory score of natural mosaic craft products from Moringa pods was at high level with a mean value of 4.27. The products were impressive and highly suitable for commercial distribution because they were made from non-toxic and environmentally friendly materials while being practically used with reported mean value of 4.36, 4.35 and 4.29, respectively.


Download: Development of Natural Mosaic from Moringa Pods for Craft Products