Chemical Components, Anti-oxidant Activity, 𝛼-Glucosidase Inhibitory Activity, and Anti-inflammatory Activity of Vernonia amygdalina Delile Leaf Extract
โดย วรินทร อินทน้ำเงิน
ปี 2564
บทคัดย่อ
การศึกษาองค์ประกอบทางเคมี ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส และฤทธิ์ต้านการอักเสบของสารสกัดเอทานอลใบหนานเฉาเหว่ย พบว่า การวิเคราะห์ด้วย GC-MS พบว่า ในสารสกัดมีสารหลักที่เป็นองค์ประกอบ 10 ชนิด ได้แก่ Benzoic acid, Neophytadiene, Xylocaine, Hexadecanoic acid, Hexadecanoic acid ethyl ether, Phytol, (z,z)-9,12-Octadecadienoic acid, (z,z,z)-9,12,15-Octadecatrien-1-ol, (z,z,z)-9,12,15-Octadecatrienoic acid ethyl ester และ Octadecanoic acid
ซึ่งสารเคมีนี้ส่วนหนึ่งน่าจะมีความสำคัญในการออกฤทธิ์ของสารสกัด สารสกัดสามารถกำจัดอนุมูล 2,2- diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) ได้ และการกำจัดอนุมูล DPPH แปรผันตามความเข้มข้นของสารสกัด โดยความเข้มข้นสูงสุดที่ใช้ คือ 1.6 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดสามารถกำจัดอนุมูล DPPH ได้ 35.53+0.03% ขณะที่ที่ความเข้มข้นเดียวกัน สาร Butylated hydroxytoluene (BHT) กำจัดอนุมูล DPPH ได้มากกว่า คือ 70.37+0.00% สารสกัดยังสามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์แอลฟา-กลูโคซิเดส โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 0.275 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร แม้จะยับยั้งได้น้อยกว่ายา Acarbose (ค่า IC50 เท่ากับ 0.157 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) นอกจากนี้ ที่ความเข้มข้น 50 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร สารสกัดสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ได้ 17.39+2.41% ขณะที่ยาต้านการอักเสบ Diclofenac ยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ได้ดีกว่า คือ ร้อยละ 27.07+1.81
ผลจากการวิจัย แสดงให้เห็นว่า สารสกัดใบหนานเฉาเหว่ยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านเบาหวาน และต้านการอักเสบ จากการมีฤทธิ์ดังกล่าว จึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำสารสกัดเอทานอลใบหนานเฉาเหว่ยไปพัฒนา และประยุกต์ใช้รักษาโรคที่สัมพันธ์กับอนุมูลอิสระ โรคเบาหวาน และการอักเสบได้ อย่างไรก็ตาม สารสกัดมีความเป็นพิษต่อเซลล์ โดยมีค่า IC50 ที่ 110.02±0.86 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร การใช้สารสกัดในระดับความเข้มข้นสูง จึงควรพิจารณาใช้ความเข้มข้นต่ำๆ
ABSTRACT
The investigation on chemical components, anti-oxidant activity, 𝛼-glucosidase inhibitory activity, and anti-inflammatory activity of ethanol leaf extract from Vernonia amygdalina Delile (LEVA) revealed that ten major chemical compounds obtained from LEVA extract were Benzoic acid, Neophytadiene, Xylocaine, Hexadecanoic acid, Hexadecanoic acid ethyl ether, Phytol, (z,z)-9, 12-Octadecadienoic acid, (z,z,z)-9,12,15-Octadecatrien-1-ol, (z,z,z)-9,12,15-Octadecatrienoic acid ethyl ester, and Octadecanoic acid.
Apparently, some of these chemical compounds well responded to the activities of LEVA. The DPPH assay demonstrated that the effectiveness of LEVA in DPPH radical scavenging activity varied according to the degrees of extract concentration. At the highest concentration of 1.6 mg/ml, the LEVA exhibited 35.53±0.03% DPPH scavenging whilst Butylated hydroxytoluene (BTH) showed more potent scavenging by 70.37±0.0%. LEVA also exhibited inhibitory effect on 𝛼-glucosidase activity in vitro with an IC50 of 0.275 mg/ml, but its performance was less than that of Acarbose (IC50 of 0.157 mg/ml). Moreover, at the concentration of 50 μg/ml, LEVA exerted 17.39±2.41% inhibition on nitric oxide (NO) production, yet Diclofenac yielded better results (27.07±1.81%).
The research findings indicated the anti-oxidant, anti-diabetic, and anti-inflammatory activities of LEVA. With its chemical properties, the ethanol leaf extract from LEVA, therefore, could be further developed and utilized for treating several diseases related to free radicals, diabetes, and inflammation. However, LEVA exhibited cytotoxicity to LPS-stimulated RAW 246.7 cells with an IC50 of 110.02±0.86 μg/ml. Using high concentrations of LEVA must be considered.