Influence of school administrator’s academic leadership on the effectiveness of school under Pathum Thani primary educational service area office 1
โดย ศิญาภรณ์ พฤฑฒิกุล
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 และ 3) ศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 315 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 3) ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 พบว่า ตัวแปรที่มีอานาจในการพยากรณ์ได้แก่ ด้านการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ ด้านการกำหนดภารกิจของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาคุณภาพครูและด้านการนิเทศ ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Abstract
This research aimed to: 1) investigate the academic leadership level of educational administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1, 2 ) explore the effectiveness level of schools under Pathum Thani PrimaryEducational Service Area Office 1, and 3) examine the effect of administrators’ academic leadership on the effectiveness of the schools under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1.
The research samples consisted of 315 teachers under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1derived from cluster sampling. The instrument was a questionnaire. To analyze data, the researcher conducted the statistics consisting of frequency, percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis.
The research results revealed that: 1) the academic leadership of educational administrators under Pathum Thani Primary Educational Service Area Office 1 showed a high level in overview and particular view, and 2) the effectiveness of schools indicated a high level in overview and particular view. As for the impact of academic leadership of educational administrators on the effectiveness of schools, the important predictor variables were academic climate promotion, school mission determination, teacher quality development, and education supervision, respectively, with the statistical significance level of .05.