Conflict management of school administrators under Phra Nakhon Si Ayutthaya primary educational service area office 1
โดย รพีพรรณ อู่อรุณ
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 335 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) แนวทางในการพัฒนาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ (1) ด้านการเอาชนะ ผู้บริหารสถานศึกษาควรชี้แจงแนวทางการทำงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันกับครู (2) ด้านการหลีกเลี่ยง ประวิงเวลาให้สถานการณ์คลี่คลาย หลีกเลี่ยงการแสดงความคิดเห็นที่นำไปสู่ความขัดแย้ง (3) ด้านการยอมตามรับฟังความคิดเห็นและเปิดใจกว้างต่อแนวคิดใหม่ (4) ด้านการผสมผสานให้ทุกฝ่ายได้แสดงความคิดเห็นผสานความคิดของทุกคน โดยรักษาผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นสำคัญ และ (5) ด้านการประนีประนอมให้ความสำคัญกับความต้องการของครู เรียงลำดับความสำคัญของงาน โดยยึดผลประโยชน์ของนักเรียนเป็นหลัก การแก้ปัญหาจะต้องมีจุดกึ่งกลางซึ่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการของทุกคนได้
Abstract
This research aimed to: 1) investigate the current and desirable conditions of conflict management of school administrators, and 2) explore the practical approach to conflict management of school administrators under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1.
The research sample consisted of 335 teachers under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1. The key informants included five school administrators under Phra Nakhon Si Ayutthaya Primary Educational Service Area Office 1. The instruments were questionnaires and interview forms. The statistics analyzing the data consisted of frequency, percentage, mean, standard deviation, Priority Needs Index (PNI Modified), and the content analysis for the qualitative study. The research results revealed that: 1) the current conditions of overall conflict management of school administrators showed a moderate level and the desirable condition shows the high level. 2) The practical approach to conflict management of school administrators included: (1) Subjection: School administrators should clarify the guidelines for working to create mutual understanding with teachers. (2) Avoidance:
School administrators should avoid expressing opinions leading to conflict by delaying the time for the situation to unravel. (3) Acquiescence: School administrators should be open to opinions and new ideas. ( 4) Integration: All parties should be able to express their opinions and combine everyone’s ideas by preserving the interests of students as a priority. (5) Compromise: The desirable condition should focus on the needs of teachers by prioritizing the tasks based on the interests of students. The solution must have a middle point, which cannot satisfy everyone’s requirements.