Internal Quality Assurance Management of Bachelor Curriculum of Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย สุวจี คันธมาศ
ปี 2564
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) ศึกษาความคิดเห็นในการพัฒนาการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นของการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีในภาพรวมสภาพที่พึงประสงค์ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด ( X̅ =4.83, S.D.=0.32) และโดยภาพรวมสภาพปัจจุบัน พบว่า อยู่ในระดับมาก ( X̅ =3.61, S.D.=0.32) ซึ่งเมื่อพิจารณาค่าดัชนีลาดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNIModified) พบว่า โดยภาพรวมของความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสภาพที่พึงประสงค์และสภาพปัจจุบัน มีค่าเท่ากับ 0.33 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรพบว่ามีการดาเนินการควบคุมคุณภาพของนักศึกษา บัณฑิตและอาจารย์การติดตามตรวจสอบคุณภาพการเรียนการสอนและการพัฒนาคุณภาพการส่งเสริมการเรียนการสอน การศึกษาข้อมูลตัวบ่งชี้และเกณฑ์ประเมินจะมุ่งไปที่ระบบการบริหารงานในหลักสูตรเพื่อส่งผลต่อนักศึกษาที่จบไปให้มีคุณภาพต่อไปควรมีการสนับสนุนในเรื่องของระบบฐานข้อมูลกลางต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการดาเนินการประกันคุณภาพหลักสูตร ควรส่งเสริมให้อาจารย์ทำตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มมากขึ้น ควรพัฒนากระบวนการเรียนการสอนในสภาวะที่นักศึกษาไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้และการสร้างแรงจูงใจ การให้ความสำคัญกับบุคลากรในการพัฒนาการบริหารจัดการประกันคุณภาพการศึกษา
ABSTRACT
This research aimed to: 1) study the needs for curriculum quality assurance management of Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) study opinion towards curriculum quality assurance managerial improvement of Rajamangala University of Technology Thanyaburi.
The samples of this qualitative research were 268 curriculum committees of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Research instrument was questionnaire and the data were analyzed using percentage, mean and standard deviation.
The results revealed that most personnel expressed their opinions towards bachelor curriculum quality assurance management of Rajamangala University of Technology Thanyaburi at a high level (X̅=3.61, S.D.=0.32) and overall needs were at the highest level (X̅=4.83, S.D.=0.32). When considering priority needs index (PNIModified), it showed that input factors were at 0.37. In terms of curriculum committee development guidelines, it revealed that there were quality controls for students, graduates, and teachers, monitoring leaning and teaching quality, learning and teaching quality improvement, understanding criteria leading to curriculum management system that resulted in graduate quality. Moreover, there should be support on database system needed for curriculum quality assurance management, promoting more academic titles, organizing alternative classes in the situation where student could not study onsite, boosting motivation, and pay more attention on personnel in order to improve quality assurance management.