A Study of The Core Competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Personnerl

โดย สุภารัตน์ เมืองโสภา

ปี 2565


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การศึกษาสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี และ 2) เปรียบเทียบสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 315 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) แล้วนำเสนอ เชิงพรรณนาความสถิติทดสอบแบบเอฟ (f-test) หลักการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนก ทางเดียว (One way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. สมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี พบว่า สมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการบริการที่ดี และด้านการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการมุ่งผลสัมฤทธิ์ ด้านการสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ และด้านการยึดมั่น ในความถูกต้องชอบธรรม และจริยธรรม อยู่ในระดับปานกลาง
  2. 2. ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีปัจจัยส่วนบุคคล จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประเภทบุคลากร และระยะเวลาปฎิบัติงาน พบว่า

บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีเพศ และระดับการศึกษา แตกต่างกัน มีระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่มีอายุ ตำแหน่ง ประเภทบุคลากร และระยะเวลาปฏิบัติงานแตกต่างกันมีระดับสมรรถนะหลักของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


Abstract

Research on “Study of core competencies of personnel at Rajamangala University of Technology Thanyaburi” has the objective of 1) Study the level of core competencies of university personnel. Rajamangala University of Technology Thanyaburi and 2) compare the main competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel classified by personal factors. The population used in the study was 315 Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel. Statistics used included frequency and percentage (Percentage), mean (Mean), standard deviation (Standard Deviation) and presented in terms. Describe the statistics of the F-test (f-test), principles of one-way discriminant analysis of variance (One way ANOVA).

The research results found that

  1. 1. The main competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel were found to be at a moderate level. When considering each aspect, it was found that Good service and teamwork at a high level As for the achievement aspect In terms of accumulating expertise in careers and adherence In righteousness and ethics, it is at a moderate level.
  2. 2. Results of comparing the main competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel with personal factors, classified by gender, age, education level, position, and personnel type. and working hours were found to be

Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel with gender and educational levels are different. There are different levels of core competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel, with statistical significance at the 0.05 level.

Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel with age, position, and type of personnel and the working period differs in the level of core competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi personnel. no different Statistically significant at the 0.05 level.


Download: A Study of The Core Competencies of Rajamangala University of Technology Thanyaburi Personnerl