A comparative study of academic achievement of bachelor’s degree graduates classified by admission type during 2017-2020, Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย นิตยา  นำประดิษฐ
ปี 2564


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามประเภทการรับเข้าศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2560-2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามประเภทการรับเข้าศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2560-2563 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ระหว่างปีการศึกษา 2560-2563 หลักสูตร 4 ปี จำนวน 13,642 คน โดยเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) จากระบบฐานข้อมูลทะเบียนนักศึกษา ของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นำมาทำการวิเคราะห์ทางสถิติเชิงพรรณนาหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน เพื่อหาค่าความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ผลการวิจัย พบว่า

1.  ผลการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามประเภทการรับเข้าศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2560-2563 ที่รับเข้าศึกษาผ่านระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบกลาง (Admissions) ในภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย (µ = 2.90) และเมื่อพิจารณาตามประเภทการรับเข้าศึกษาพบว่า ระบบกลาง (Admissions) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด อยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย (µ = 2.94) รองลงมา ระบบโควตา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับพอใช้ มีค่าเฉลี่ย (µ = 2.90) และระบบสอบตรง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำสุด อยู่ในระดับพอใช้มีค่าเฉลี่ย (µ = 2.88)

2.  ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามประเภทการรับเข้าศึกษา ระหว่างปีการศึกษา 2560-2563 ที่รับเข้าศึกษาผ่านระบบโควตา ระบบสอบตรง และระบบกลาง (Admissions) ในภาพรวมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ในแต่ละประเภทการรับเข้าศึกษามีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปฏิเสธสมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ โดยผู้สำเร็จการศึกษาที่รับเข้าศึกษาผ่านระบบกลาง (Admissions) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าระบบโควตา และผู้สำเร็จการศึกษาที่รับเข้าศึกษาผ่านระบบโควตา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าระบบสอบตรง


Abstract

The objectives of this research were 1) to study the academic achievement of graduates with bachelor’s degree by type of admission during the academic year 2017-2020, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) to compare the academic achievement of bachelor’s degree graduates by type of admission during the academic year 2017-2020, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The sample used in this research was 13,642 bachelor’s degree graduates during the academic year 2017-2020, 4-year program. Data was collected from secondary data sources from the student registration database system of the Office of Academic Promotion and Registration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Descriptive statistics were analyzed to find percentages, means, and standard deviations, and hypotheses were tested to find statistically significant differences.

The results showed that:

1.  Results of analysis of academic achievement of bachelor’s degree graduates according to the type of admission during the academic year 2017-2020, who were admitted through the quota system, the direct examination system and the central system (Admissions) overall had academic achievement at a fair level with an average of (µ = 2.90). When considering the type of admission, it was found that the central system (Admissions) had the highest academic achievement at a fair level with an average of (µ = 2.94), followed by the quota system with academic achievement at a fair level with an average of (µ = 2.90) and the direct examination system with the lowest academic achievement at a fair level with an average of (µ = 2.88).

2.  The comparative results of academic achievement of bachelor’s degree graduates According to the type of admission during the academic year 2017-2020, who were admitted through the quota system, the direct examination system, and the central system (Admissions). Overall, the academic achievement of bachelor’s degree graduates in each type of admission is significantly different at the 0.05 level, which rejects the research hypothesis. Graduates admitted through the central system (Admissions) have higher academic achievement than the quota system, and graduates admitted through the quota system have higher academic achievement than the direct examination system.


Download: 20241106-R2R-Nittaya N