The Requirement to Develop the Potential of Academic Support Personnel, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi

โดย อุไรวรรณ หิมพานต์

ปี 2566


บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ประชากรทั้งหมดจำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและเก็บแบบสอบถามได้ จำนวน 110 ชุด คิดเป็นร้อยละ 89.43 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ซึ่งได้แก่ การทดสอบหาความ แตกต่างค่าที (t-Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way Anova)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทั้งในภาพรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการพัฒนาตนเอง และ ด้านการศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (μ =3.71, σ =.55) รองลงมาคือด้านการพัฒนาตนเอง (μ =3.69, σ=.62) และด้านการศึกษา มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (μ =3.33, σ =.71)

2. การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีความต้องการพัฒนาศักยภาพ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มีความต้องการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน และในรายด้าน ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการฝึกอบรม ด้านการศึกษา และด้านการพัฒนาตนเอง ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จึงปฏิเสธสมมติฐาน


Abstract

This research aimed to 1) investigate the requirement to develop the potential of academic support personnel at the Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) compare personal factors with the requirement to develop the potential of academic support personnel at the Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The research sample consisted of 123 people. The instrument was a questionnaire, and 110 sets were collected, accounting for 89.43 percent. To analyze the data, the researcher conducted statistics consisting of frequency, percentage, mean, and standard deviation. Inferential statistics included the t-test and the one-way Anova test.

The results revealed that:

1. The requirement to develop the potential of personnel appeared to have an overall high level from three viewpoints, namely, training, personal development, and education. Considering particular aspects, training has the highest average (μ =3.71, σ =.55). The second highest average was personal development (μ =3.69, σ=.62). Education showed the lowest average (μ =3.33, σ =.71).

2. To compare personal factors with the potential development, distinct personal factors had indifferent requirements for developing potential significantly different at the .05 level.

3. As for personal factors, the academic support personnel had indifferent requirements for developing potential in an overview. In particular aspects, the three aspects were not significantly different at the .05 level leading to the rejected hypothesis.


Download: The Requirement to Develop the Potential of Academic Support Personnel, Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi

ใส่ความเห็น