Service Quality from the Personnel Sector of the Faculty of Engineering Rajamangala University of Technology Thanyaburi
โดย ฐิตาภา ทองไชย และ อุไรวรรณ หิมพานต์
ปี 2566
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ ของงานบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฝ่ายงานภายในที่ปฏิบัติงาน และสายงานหลัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ถูกสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) จากจำนวนประชากรทั้งหมด 327 คน โดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เพื่อให้ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบหาความแตกต่างค่าที (t-Test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X̅=4.38, S.D.=0.49) ด้านที่มีคุณภาพการบริการมากเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านความน่าเชื่อถือในการให้บริการอยู่ในระดับมาก (X̅=4.46, S.D.=0.53) รองลงมาได้แก่ ด้านการเอาใจใส่ต่อผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (X̅=4.41, S.D.=0.59) ด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (X̅=4.37, S.D.=0.56) ด้านการให้ความมั่นใจแก่ผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก (X̅=4.36, S.D.=0.54)และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ อยู่ในระดับมาก (X̅=4.28, S.D.=0.55)
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็น พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา ฝ่ายงานภายในที่ปฏิบัติงาน และสายงานหลัก มีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการในภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ 1) เพศและอายุแตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .052) ระดับการศึกษา ฝ่ายงานภายในที่ปฏิบัติงาน และสายงานหลัก มีความแตกต่างกัน และมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการบริการในภาพรวมแตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
3) ผลความคิดเห็นคุณภาพการบริการจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ฝ่ายงานภายในที่ปฏิบัติงาน และสายงานหลัก มีความแตกต่างกัน และมีระดับความคิดเห็นคุณภาพการบริการไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Abstract
This research aimed to 1) investigate the level of opinions regarding the service quality of the personnel section at the Faculty of Engineering, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) compare these opinions based on personal factors such as gender, age, educational level, internal department, and main job function. The sample for this study was selected using stratified sampling from a total population of 327 individuals, with simple random sampling applied to obtain a final sample size of 180 individuals. The research instrument used was a questionnaire. The data analysis included statistical methods such as frequency, percentage, mean, standard deviation, and inferential statistics, including t-tests and one-way ANOVA.
The research findings revealed that:
1. The overall level of opinions regarding the quality of personnel services was high (X̅=4.38, S.D.=0.49). The aspects with the highest service quality, in descending order, were reliability of service (X̅=4.46, S.D.=0.53), attentiveness to service recipients (X̅=4.41, S.D.=0.59), responsiveness to the needs of service recipients (X̅=4.37, S.D.=0.56), assurance provided to service recipients (X̅=4.36, S.D.=0.54), and the tangibility of services, which had the lowest average rating but was still high (X̅=4.28, S.D.=0.55).
2. The comparison of opinions showed that respondents with different personal factors such as gender, age, educational level, internal department, and main job function had varying levels of opinions on overall service quality. Specifically: a) Gender and age differences did not result in statistically significant differences in opinions on overall service quality at the .05 significance level. b) Differences in educational level, internal department, and main job function resulted in statistically significant differences in opinions on overall service quality at the .05 significance level.
3. When categorized by personal factors such as gender, age, educational level, internal department, and main job function, the opinions on the quality of personnel services showed no statistically significant differences at the .05 significance level.