โดย กล้าหาญ ณ น่าน, ฉัตรปารี อยู่เย็น, สุภาพร คูพิมาย, ปิยนาถ ศรีสมเพ็ชร, อภิสิทธิ์ ตั้งเกียรติศิลป์และ สุรมงคล นิ่มจิตต์

ปี 2556

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับ ความสัมพันธ์ และอิทธิพลของ ปัจจัยองค์กร ปัจจัยการเรียนรู้ ที่มีต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 255 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์อยู่ระหว่าง 0.6 ถึง 1 ค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.62-0.94 แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์อิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวม และตรวจสอบความสอดคล้องของแบบจำลองที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีที่คณะผู้วิจัยสร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการวิจัย พบว่า ระดับความเห็นของปัจจัยองค์กร ปัจจัยการเรียนรู้ และปัจจัยการจัดการความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า ตัวแปรทั้งหมดมีความสัมพันธ์มีค่าอยู่ระหว่าง .158 ถึง .880 ส่วนแบบจำลองโครงสร้างของปัจจัยอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ มีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ (x2) เท่ากับ 78.774 องศาอิสระ (df) ค่าเท่ากับ 62, P-value เท่ากับ .074 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .987  และค่าดัชนีรากกำลังสองเฉลี่ยของค่าความแตกต่างโดยประมาณ (RMSEA) มีค่าเท่ากับ .033 การจัดการความรู้ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยองค์กรมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยการเรียนรู้ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เท่ากับ .52 และ .43 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 นอกจากนั้นการจัดการความรู้ได้รับอิทธิทางอ้อมจากปัจจัยองค์กรโดยส่งผ่านปัจจัยการเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลทางบวกเท่ากับ .36 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ตัวแปรในแบบจำลองสามารถอธิบายความแปรปรวนของการถ่ายโอนการเรียนรู้ได้ร้อยละ 83

In this research investigates (1) a level, relationship, and affection of organizational and learning factors to knowledge management factor of staff’s Rajmangala University of Technology Thanyaburi with the model had developed by the researchers. The sample population consisted of 255 academic and support staffs of Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Data were collected by means of questionnaires. The questionnaires were tested for content validity by the index of item objective congruency method with the results falling between 0.6 to 1, with reliability coefficient was found in range 0.62 to 0.94. Construct validity was confirmed by an application of confirmatory factor analysis and analyses were conducted yielding direct, indirect, and total effects. The validity of the influence of organizational and learning factors on the knowledge management under study was confirmed through testing the goodness of fit between the model and the empirical data collected. Structural equation analysis was also applied by extrapolating the linear structural relationship technique in its statistical compact software.

The research results indicated that a level of organizational, learning, knowledge management factors were moderate and the model was consistent with the pertinent empirical data. Goodness of fit measures were found to be chi-square (x2) = 78.774; degrees of freedom (df) = 62; probability value = .074; goodness-of-fit index = .987; and root mean square error of approximation (RMSEA) = .033. The knowledge management factor was direct affected by organizational and learning factors at the beta .52 and .43 consequently and indirect affected by organizational factor through learning factor at beta. 36 with the significant level at p = .001. Finally, the variables in the model were determined to be explanatory of 83 percent of the variance in knowledge management.

Download : แบบจำลองเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการความรู้ของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี