Relation between Load Transfer Efficiency and Void beneath Airfield Concrete Slabs

โดย จตุพล สายัณหวัฒน์

ปี 2555

บทคัดย่อ (Abstract)

การเติบโตอย่างต่อเนื่องของธุรกิจการบิน ท้าให้การทดสอบความแข็งแรงของโครงสร้างผิวทางสนามบินเพื่อให้มีความปลอดภัยมีความจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในขณะที่การทดสอบหาประสิทธิภาพการถ่ายน้ำหนัก (LTE[delta]) ระหว่างแผ่นพื้นและการทดสอบหาโพรงใต้แผ่นพื้นคอนกรีต (Void) ที่ถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานสากลนั้นต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าตัวแปรทั้ง 2 ดังกล่าว

โดยได้ท้าการทดสอบผิวทางท่าอากาศยานภูเก็ตและหาดใหญ่ตามมาตรฐานของ Federal Aviation Administration ด้วยเครื่องมือวัดค่าการยุบตัวด้วยลูกตุ้มกระแทกแบบหนัก ทดสอบที่ตำแหน่งกึ่งกลางรอยต่อแผ่นพื้นด้วยน้ำหนัก 220 kN เพื่อวิเคราะห์หาค่า LTE[delta] และในแผ่นพื้นเดียวกันทดสอบที่ตำแหน่งมุม โดยใช้น้ำหนัก 3 ระดับคือ 160, 190 และ 220 kN เพื่อวิเคราะห์หาค่า Void และทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิของการตัดสินใจ (R[superscript2]) เป็นเกณฑ์

จากผลการศึกษาพบว่าเมื่อพิจารณาค่า LTE[delta] ช่วง 0 ถึง 100% เทียบกับ Void ทั้งในกรณีที่มีและไม่มีโพรงปรากฏ พบว่าค่า R[superscript2] มีค่าต่ำมากหรือไม่แสดงความสัมพันธ์ใดๆ ของตัวแปรทั้ง 2 ในกรณีค่า LTE[delta] ที่มากกว่า 50% และมีโพรงปรากฏ พบว่าความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้ง 2 เพิ่มมากขึ้นด้วยค่า R[superscript2] เท่ากับ 0.25 และเมื่อกรณีค่า LTE[delta] ที่มากกว่า 70% และมีโพรงปรากฏ พบว่าความสัมพันธ์ของตัวแปรทั้ง 2 มีความชัดเจนมากที่สุดด้วยค่า R[superscript2] เท่ากับ 0.60 ซึ่งได้สรุปเป็นความสัมพันธ์ทางเชิงเส้นอย่างง่ายบนพื้นฐานข้อมูลที่ทดสอบในงานวิจัยนี้

Since the aviation business is continuously growing, the testing of the strength of the airfield pavement structure for safety reason is crucial. The process of identifying the load transfer efficiency (LTE[delta]) of pavements and specifying voids beneath slabs defined in the international standard are time consuming. Therefore, this research aims to study the correlation between the two aforementioned parameters.

The nondestructive tests of the Phuket and Hat Yai airfield pavement have been performed by using Heavy Falling Weight Deflectometer followed the Federal Aviation Administration standard. The tests were conducted at the center of the slabs joint with 220 kN load to identify the LTE[delta] value. On the identical slabs the tests were performed at the slabs corner with 160, 190 and 220 kN load to specify voids and analyze their relation based on the coefficient of determination (R[superscript2]).

Regarding to the results it has been found that when comparing the whole LTE[delta] value, with both cases, voids present and no voids present, the R[superscript2] is very low or show no relation between these two variables. In the case of LTE[delta] is greater than 50% and voids present, the relation of these two variables is increased with R[superscript2] of 0.25. When the LTE[delta] is greater than 70% and voids present, the relation of these two parameters is the most evident with R[superscript2] of 0.60, to summarize this relation mathematically, a simple linear regression analysis has been generated and discussed in this paper.

 

Download : ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการถ่ายน้ำหนักกับโพรงใต้ผิวทางแผ่นพื้นคอนกรีตของท่าอากาศยาน