The Relationship between the Organizational Engagement and the Improvement in the Quality of Health Care
โดย ภัทรลภา ลิ้มกิติศุภสิน
ปี 2556
บทคัดย่อ (Abstract)
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยส่วนบุคคลและความผูกพันต่อองค์กรกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พยาบาล และบุคลากรโรงพยาบาลสิงห์บุรี จำนวน 215 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Chi-Square และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยส่วนบุคคล ประกอบด้วย อายุ ตำแหน่งงาน ภูมิลาเนา ที่อยู่ปัจจุบันระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ทางานในองค์กร มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ บุคลากรมีความผูกพันต่อองค์กรโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง สาหรับผลการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง ความผูกพันต่อองค์กรกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล พบว่า มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน เท่ากับ 0.458
จากผลการวิจัยสามารถนาไปพัฒนาองค์กรโดยการส่งเสริมความผูกพันต่อองค์กรให้สูงขึ้นโดยเน้นแรงจูงใจด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์เป็นหลัก และเพิ่มการมีส่วนร่วมของพยาบาลและบุคลากรในกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น เพื่อเป็นสิ่งจูงใจนาพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ และก่อให้เกิดประโยชน์กับการบริการที่มีประสิทธิภาพและความพึงพอใจของผู้รับบริการ
This independent study aims to study the relations between personal factor and organizational commitment on participation in the quality of health care improvement. The sample groups used in this study were nurses and personnel in Singburi Hospital total 215 persons. The statistics used for data analysis were Frequency, Percentage, Means and Standard Deviation, Pearson Chi-Square and Pearson Correlation Coefficient.
The results indicate that the personal factors that consisted of age, position, native habitat, current dwelling, period of work operation and work experiences in an organization had relation with participation in improvement of health care quality with statistical significance. The personnel had overall organizational commitment in moderate level and had opinions about level of participation in improvement of health care quality in moderate level. For experimental results of relation between organizational commitment and participation in improvement of health care quality, it indicated moderate level of relationship in the same direction with statistical significance and Pearson Correlation Coefficient at 0.458.
The research results can be applied for organizations development by promoting a higher commitment to the organization, focusing on incentive in term of compensation and benefits primarily and increasing participation of nurses and personnel in activities to be temptation which can lead an organization to success and create benefits to the efficient service and satisfaction of customers.
Download : ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์กรกับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการบริการพยาบาล