Stress in reinforcements at support of concrete beam

โดย ชำนาญ น้อยพิทักษ์

ปี 2555

บทคัดย่อ

หน่วยแรงที่เกิดขึ้นในเหล็กเสริมของคานคอนกรีตที่ตำแหน่งรอยต่อระหว่างเสา-คาน ได้ถูกศึกษาโดยการสร้างแบบจำลองเสา-คานที่เทคอนกรีตแบบมีรอยต่อเปรียบเทียบกับแบบจำลองเสา-คานที่เทคอนกรีตแบบไม่มีรอยต่อเนื่องจากการก่อสร้าง (construction joint) แบบจำลองมีขนาดคาน 20 × 40 × 100 ซม. เสริมเหล็กแกน 4 เส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. ( ρ = 0.005) เหล็กปลอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เสริมที่ระยะห่าง 15 ซม. ขนาดเสา 20 × 20 × 100 ซม. เสริมเหล็กแกน4 เส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 มม. ( ρ = 0.02) เหล็กปลอกขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 มม. เสริมที่ระยะห่าง 15 ซม.

การศึกษาพบว่าแบบจำลองที่ไม่มีรอยต่อนั้นสามารถรับแรงเฉือนโดยรวมสอดคล้องกับทฤษฎีการออกแบบ (ultimate design) ในขณะที่แบบจำลองที่มีรอยต่อรับแรงเฉือนได้เพียงร้อยละ 60 เท่านั้น สำหรับหน่วยแรงในเหล็กปลอกมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นมากที่สุดที่ประมาณร้อยละ 25 ของหน่วยแรงที่ยอมให้ก่อนที่จะลดลงเนื่องจากการเสียหายของคาน

ผลการศึกษาหน่วยแรงในเหล็กแกนยังพบอีกว่า แบบจำลองที่เทคอนกรีตแบบมีรอยต่อรับแรงโดยรวมลดลงจากแบบจำลองที่เทคอนกรีตแบบไม่มีรอยต่อ ร้อยละ 8.8 ถึง ร้อยละ 15 และพบว่าปริมาณเหล็กแกนที่เพิ่มขึ้นในคานคอนกรีตที่มีรอยต่อสามารถรับแรงได้เพิ่มขึ้นด้วย เมื่อเพิ่มเหล็กเดือยจากปริมาณเหล็กแกนเดิมร้อยละ 23.66 ถึงร้อยละ 32.62 ทำให้คานคอนกรีตที่มีรอยต่อสามารถรับแรงเทียบเท่ากับคานคอนกรีตที่ไม่มีรอยต่อได้

Download : Stress in reinforcements at support of concrete beam