The development of teaching technique by integrating Davie’s Instruction Model and Cooperative Learning Model for Rabumkai Song whilst’s learning achievement in Traditional Thai Music and Dance
โดย นิตยา เต็งประเสริฐ
ปี 2557
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนรู้การพัฒนาทักษะปฏิบัติท่ารำ ประกอบการแสดงชุดระบำไก่ วิชาดนตรีนาฏศิลป์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของผู้เรียนที่เรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบ Static Group Comparison Design เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ การแสดงชุดระบำไก่ แบบประเมินทักษะปฏิบัติ สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเปรียบเทียบ Independent Samples t – test
ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้รูปแบบการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือ ประกอบการแสดงชุดระบำไก่วิชาดนตรีนาฏศิลป์ของผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 1.84, = 0.07)
The purposes of this research were to develop a technique for the teaching of a traditional Thai dance, namely Rabumkai, through the integration of Davie’s skill-focused instruction and cooperative learning approach.
Subjects were Pratomsuksa 5 students at Premruethai School while static group comparison design was applied for data collection. The research instruments were lesson plans incorporating Davie’s skill-focused instruction to cooperative learning scheme, and a skill-based assessment form. The data were analyzed through the use of frequency of occurrence, mean, standard deviation, and independent sample t-test.
The results revealed that there was no significant difference at the .05 level (t =1.84, P=0.07 between the experimental and the control groups of students regarding their achievement.