A study and development of water repellent properties of palm fabric for product design
โดย จุฑามาศ ช้อนนาค
วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัย และงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 3, ฉบับที่ 1 (ม.ค. – มิ.ย. 2559), หน้า 109-127
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติการสะท้อนน้ำของผ้าใยตาล ได้แก่ ผ้าใยตาลผสมใยไผ่ สะท้อนน้ำ ทอผ้าด้วยกี่กระตุกแบบหัตถกรรม, อัตราส่วน เส้นใยตาลร้อยละ 60 เรยอนร้อยละ 40 ผสมเส้นใยไผ่ ร้อยละ 100 สัดส่วน 1:1 1:4 1:8 และ 4:8 แล้วผ่านกรรมวิธีกันน้ำแบบธรรมชาติ ทดสอบการสะท้อนน้ำ ตามเกณฑ์การทดสอบ ASTM D779-03 (Dry Indicator Method) แนวทางการออกแบบด้านเทคนิค ใช้หลักการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ QFD โดยตัวแทนกลุ่มลูกค้ามีความเห็นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ประเภท หมวกสูงสุดร้อยละ 15 สรุปเป้าหมายของการออกแบบของผลิตภัณฑ์ใหม่คือ คือ หมวกพับเก็บได้ รูปทรงไม่ยับง่าย กันแดด ระบายความชื้นได้ดีและไม่เปียกน้ำ ประยุกต์กับแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์โดยใช้ ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์กรรม TRIZ ได้ตารางความสัมพันธ์ คือ การพับซ้อน ความหมายในตาราง TRIZ คือการแบ่งออกเป็นส่วนๆ และความเป็นพลวัตเป็นเทคนิคการออกแบบเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามหลักการออกแบบ โดยออกแบบการตัดเย็บหมวกเป็น 2 ชิ้น เมื่อต้องการใช้งานเปลี่ยนรูปแบบการใช้งานได้ 2 ลักษณะ คือ เปิดศีรษะ แบบ Visor และปิดศีรษะ แบบ Cap ปรับขนาดได้ โดยมีราคาจำหน่ายที่ 150-250 บาท ผลิตได้ทั้งในระบบหัตถกรรม และระบบอุตสาหกรรม มีค่าความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างจากบุคลากรภายในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย จำนวน 85 คน ในระดับมากที่สุด = 4.66 และ S.D. = 0.17
The objective of the study was to examine and develop the water repellency property of palm fibers fabric. The fabric used was palm fibers fabric mixed with bamboo fibers, woven by a handicraft loom with a ratio of mixed fibers between palm fibers and bamboo fibers of 1:1, 1:4, 1:8, and 4:8. It was then processed through the natural water proof aimed to test the water repellency according to the ASTM D779-03 (Dry Indicator Method). The technical design was used by the qualitative distribution function of QFD . The product of the materials selected for this treatment by the survey of most customers’ opinion, received the highest rank of 15 percent, was caps. They were foldable, difficult to wrinkle, sunlight protected, vent moisture, and not to get wet. The design method was applied with the design technique of the theory of problem solving inventions TRIZ in order to obtain the most appropriate product based on industrial designer. The Theory of TRIZ problem solving invention table relationship was a folding table divided into sections. It indicated that the foldable caps should be created to meet the demand. It was designed by sewing two pieces into a hat. Two applications could be used as open and close head visor caps. Their sizes could be adjusted. The prices were 150-250 baht. They could be made both in a handicraft household and an industrial system. The satisfaction of 85 respondents of the sample group from Sukhothai Vocational College was at the highest level of = 4.66 and S.D. = 0.17
Download : การศึกษาและพัฒนาคุณสมบัติการสะท้อนน้ำของผ้าใยตาล เพื่อการออกแบบผลิตภัณฑ์