Development of quality assurance training curriculum for staff in faculty of business administration, Rajamangala university of technology Thanyaburi
โดย รุ่งฤดี กุลสิงห์
ปี 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างหลักสูตรฝึกอบรมงานประกันคุณภาพสำหรับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และ 2) ศึกษาความเหมาะสมของหลักสูตรตามความคิดเห็นของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรสายวิชาการ จำนวน 75 คน สายสนับสนุน จำนวน 46 คน รวมจำนวน 121 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยมีขั้นตอนการดำเนินการแบ่งเป็นระยะที่ 1 สร้างหลักสูตรฝึกอบรมงานประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งโครงสร้างหลักของหลักสูตร ประกอบด้วย ชื่อหลักสูตร หลักการของหลักสูตร วัตถุประสงค์ เนื้อหาหลักสูตร โครงสร้างหลักสูตร แนวการจัดกิจกรรม และการวัดและการประเมินผล และ ระยะที่ 2 ประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรมงานประกันคุณภาพสำหรับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฝึกอบรมงานประกันคุณภาพการศึกษา สำหรับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่สร้างขึ้น มีความเหมาะสมและสอดคล้องตามเกณฑ์ และหลักสูตรฝึกอบรมงานประกันคุณภาพสำหรับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีผลการประเมินความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
Abstract
The purposes of this research were to: 1) develop a quality assurance training curriculum for the staff in Faculty of Business Administration at Rajamangala University of Technology Thanyaburi, and 2) study the appropriateness of the curriculum according to the opinions of the staff.
The samples obtained by means of Stratified Sampling were 75 academic and 46 administrative staff members. The research was divided into 2 phases. In the first phase, a quality assurance training curriculum for the staff was developed. The main components of the curriculum were its name, principle, objectives, content, structure, suggested activities and evaluation. In the second phase, the curriculum was evaluated for its appropriateness. The data were analyzed using mean and standard deviation.
The results showed that the constructed quality assurance training curriculum was appropriate and complied with the criteria. The results also indicated that the appropriateness of the curriculum was at a high level.