THE DEVELOPMENT OF VIDEO INSTRUCTION MEDIA DRAWING BY USED ADOBE ILLUSTRATOR”

โดย นายทนงศักดิ์ รีดอนงิ้ว

ปีการศึกษา 2558


บทคัดย่อ (Abstract)

ปริญญานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอเรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอเรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” ของกลุ่มตัวอย่าง เป็นการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ ดำเนินการบันทึกภาพการสอน ตัดต่อภาพและเสียง และเพิ่มอินโฟกราฟิกเพื่อความน่าสนใจ

วิธีการศึกษาประเมินคุณภาพสื่อโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านสื่อการเรียนการสอน 1 ท่าน ด้านเทคนิคพิเศษทางอินโฟกราฟิก 2 ท่าน และด้านการตัดต่อ 2 ท่าน และทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยนักศึกษาที่ผ่านการเรียนวิชาการวาดภาพเพื่องานอนิเมชั่น สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชวน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จำนวน 60 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย

ผลการศึกษาสรุปว่าการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะบีอิลลัสเตรเตอร์” มีผลประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการเรียนการสอน ด้านเทคนิคพิเศษทางอินโฟกราฟิก และด้านการตัดต่ออยู่ในระดับดี และจากการประเมินผลสามารถระบุได้ว่าสื่อการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง

คำสำคัญ : สื่อการเรียนการสอน , สื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ , โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์


วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

  1. เพื่อการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์”
  2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” ของกลุ่มตัวอย่าง

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้สื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” ที่มีคุณภาพ
  2. กลุ่มตัวอย่างได้ความรู้จากการเรียนด้านสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” เพิ่มมากขึ้น

ขอบเขตของงานวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

  1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 159 คน
  2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยนี้ คือนักศึกษาที่ผ่านการเรียน      วิชาการวาดภาพเพื่องานแอนิเมชั่น ชั้นปีที่ 1 สาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปีการศึกษา 2558 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
    1. สื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์”
    2. แบบประเมินคุณภาพของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” สำหรับผู้เชี่ยวชาญ
    3. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์สื่อการเรียนการสอนรูปแบบวีดิโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” สำหรับกลุ่มตัวอย่าง

ขอบเขตด้านเนื้อหา

  1. การแนะนำเครื่องมือสำหรับการวาดรูปในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์
  2. สอนเทคนิคการวาดรูปในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์
  3. สอนเทคนิคการลงสี และแสงเงาในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์

ขอบเขตด้านเทคนิค

  1. การใช้อินโฟกราฟิกมาช่วยในการนำเสนอคีย์ลัดในการแนะนำเครื่องมือ และเทคนิคในการวาดรูปในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์

ขอบเขตผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อ จำนวน 5 คน ประกอบด้วย

  1. ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อการเรียนการสอน จำนวน 1 คน
  2. ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคพิเศษทางอินโฟกราฟิก จำนวน 2 คน
  3. ผู้เชี่ยวชาญด้านการตัดต่อ จำนวน 2 คน

 

นิยามศัพท์

  1. สื่อการเรียนการสอน หมายถึง สิ่งที่ใช้เป็นเครื่องมือหรือช่องทางสำหรับให้การสอนของครูกับผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนวางไว้
  2. สื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ หมายถึง การต่อยอดความรู้โดยใช้วิดีโอมาใช้เป็นสื่อทางการเรียนการใช้ในการส่งผ่านความรู้ไปยังผู้เรียน โดยเครื่องมือต้องมีความสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายในการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ใหม่ ๆ และสามารถเข้าใจเนื้อหาของบทเรียนได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะสื่อที่มีการเคลื่อนไหว มีเสียง หรืออื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการบรรยายสำคัญ ซึ่งในการการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอเรื่อง “การวาดรูปในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” จะใช้เทคนิคพิเศษทางอินโฟกราฟิกช่วยในการนำเสนอเพื่อความเข้าใจ และทำให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น
  3. โปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์ หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการวาดภาพ โดยจะสร้างภาพที่มีลักษณะเป็นลายเส้น หรือที่เรียกว่าเวคเตอร์กราฟิก จัดเป็นโปรแกรมระดับมืออาชีพที่ใช้กันเป็นมาตรฐานในการออกแบบระดับสากลสามารถทำงานออกแบบต่าง ๆ โดยในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอเรื่อง “การวาดรูปในโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” จะสอนในเรื่องของเทคนิคต่าง ๆ ในการใช้เครื่องมือเพื่อวาดรูปในโปรแกรมอิลลัสเตรเตอร์

สรุปผลคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ

ผลสรุปการศึกษาคุณภาพของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอ เรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน ได้ผลสรุปการประเมินคุณภาพของการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนรูปแบบวิดีโอเรื่อง “การวาดรูปด้วยโปรแกรมอะโดบี อิลลัสเตรเตอร์” โดยจำแนกออกเป็นหัวข้อการประเมินคุณภาพย่อยทั้งหมด 5 หัวข้อย่อย ดังต่อไปนี้

  1. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านสื่อการเรียนการสอน ควรเพิ่มการอธิบายเครื่องมือบางชนิดให้ละเอียดมากขึ้น คำบรรยายช่วงที่ใช้เครื่องมือ Paintbrush Tool จะใช้คำบรรยายว่า “เมื่อเราประสบปัญหาการใช้เครื่องมือ Paintbrush Tool  ในการวาดเส้นตรง เราสามารถแก้ไขได้โดยใช้เครื่องมือ Direct Serection Tool” แทนคำว่า “หลายคนคงประสบปัญหานี้ใช้ไหม?” สื่อการสอนโดยส่วนใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 15 นาที ตามหลักทางจิตวิทยาการศึกษา เพราะเป็นเวลาที่เหมาะสม อาจจะตัดในส่วนการวาดรูปออกบ้าง
  2. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเทคนิคพิเศษทางอินโฟกราฟิก ควรเพิ่มเทคนิคพิเศษให้ดูตื่นตาตื่นใจมากกว่านี้ เพื่อเพิ่มความสนใจให้แก่ผู้ชม
  3. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านเสียง เสียงพากษ์เบาเป็นบางช่วง ทำให้เสียงดนตรีกลบเสียงพากษ์ไปบ้าง เสียงบรรยาย ควรอ่านให้ครบว่า  มีหน้าชื่ออะไรขึ้นมา  แต่ในสื่อบรรยายแค่ว่ามีหน้าต่างขึ้นมา เสียงบรรยายและบท ยังเป็นทางการไป การใช้เสียงเพลงบคกราวด์ดังและเป็นเพลงที่ค่อยข้างรบกวนทำให้พังเสียง บรรยายทำให้ฟังไม่ชัดเจน ควรใช้เพลงที่ฟังนุ่มนวลมากกว่านี้ ใช้เสียงเพลงที่เป็นดนตรีประกอบไม่เป็นแนวเพลงเดียวกันทั้งงานบางเพลงเป็นเพลงร๊อคบางเพลงเป็นเพลงฟังสบาย
  4. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านการตัดต่อ ในส่วนนี้ทำได้ดี ระยะเวลาในการนำเสนอนานไป อาจจะลดระยะเวลาในการวาดลงหน่อยเพื่อลดระยะเวลาของผลงาน จะมีเรื่องการใช้สีของฟอนต์บางจุดดูแล้วค่อนข้างจมไปกับแบคกราวด์
  5. ผลสรุปการประเมินคุณภาพด้านอื่น ๆ ควรใช้คาแรคเตอร์ที่มีลายเส้นไม่ซับซ้อนมากจนเกินไป จะทำให้เหมาะแก่การเริ่มวาดของผู้ชมมากกว่า แถบ Taskbar ด้านล่างคลิป ไม่ควรจะมี ตอนบันทึก ควรจะตั้งค่าการซ่อนไว้ หรือ ตัดออกในโปรแกรมตัดต่อ และระยะเวลามากเกินไป ควรทำให้กระชับกว่านี้ หรือแบ่งเป็นตอนๆ สอนโฟกัสเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เป็นประเด็นไป

สรุปผลสัมฤทธิ์จากกลุ่มตัวอย่าง