โดย สิริแข พงษ์สวัสดิ์, สุทธวรรณ สุพรรณ และศรีสมร สิทธิกาญจนกุล

ผลและการอภิปรายผล

พบแพลงก์ตอนพืชทั้งหมด 88 สปีซีส์ใน 7 ดิวิชัน โดยพบแพลงก์ตอนพืชในดิวิชัน Chlorophyta (39.77%) มากที่สุด รองลงมาคือ ดิวิชัน Euglenophyta และ Bacillariophyta (19.32%), Cyanophyta (15.91%), Pyrrhophyta และ Chrysophyta (2.27%) และ Cryptophyta (1.14%) แพลงก์ตอนพืชชนิดเด่น คือ Phacus longicauda (Ehrenberg) Dujardin, Euglena proxima Dangeard, Oscillatoria limosa var. tenuis Seckt, Euglena acus var. acus และ Nitzschia sp.1 ตามลำดับ สำหรับคุณภาพน้าในคลองรังสิตมีคุณภาพน้าอยู่ในระดับปานกลางถึงไม่ดี (Meso – Eutrophic status) จนถึงระดับคุณภาพน้าไม่ดี (Eutrophic status) เมื่อพิจารณาคุณภาพน้าตามมาตรฐานน้าจืด ผิวดินพบว่าอยู่ในประเภทที่ 4 สามารถใช้ในการอุปโภคและบริโภค โดยต้องผ่านการฆ่าเชื้อโรคตามปกติ และ ผ่าน กระบวนการปรับปรุงคุณภาพน้าเป็นพิเศษก่อน

DOWNLOAD : ความหลากหลายทางชีวภาพของแพลงก์ตอนพืชในคลองรังสิต จังหวัดปทุมธานี