A Study of Participation in The Strategic Planning of The Personnel of The Faculty Of Business Administration, Rajamangala University Of Technology Thanyaburi.
โดย พจนีย์ จันที
ปี 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม ปัจจัยพฤติกรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาความแตกต่างของปัจจัยด้านประชากรศาสตร์กับการมีส่วนร่วม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วม ปัจจัยพฤติกรรมองค์กร และการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ซึ่งประกอบด้วย อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 154 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนาซึ่งประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานประกอบด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันโดยมีการกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า
ประการที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 68.0 มีอายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 32.7 สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท คิดเป็นร้อยละ 36.0 ทำงานในหน้าที่เป็นอาจารย์ คิดเป็นร้อยละ 56.7 ทำงานในประเภทตำแหน่งงานเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย คิดเป็น ร้อยละ 34.0 มีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 7 – 10 ปี คิดเป็นร้อยละ 10.0
ประการที่ 2 บุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรีมีความเห็นเกี่ยวกับ 1) ความรู้ความเข้าใจด้านการวางแผนและด้านการประเมินผล และ 2) การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผน และด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลอยู่ในระดับปานกลาง และมีความเห็นเกี่ยวกับ 1) ความรู้ความเข้าใจด้านการกำหนดวิสัยทัศน์และด้านการดำเนินงาน 2) ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมด้านประโยชน์ที่มีต่อองค์กร ด้านประโยชน์ที่มีต่อพนักงาน และด้านประโยชน์ต่อผลลัพธ์ของงาน 3) ปัจจัยพฤติกรรมขององค์กรด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับบุคคล ด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับกลุ่ม และด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับองค์กร และ 4) การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินการอยู่ในระดับมาก
ประการที่ 3 ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านตำแหน่งที่ต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ในภาพรวมแตกต่างกัน ในขณะที่ ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ ตำแหน่ง และประเภทตำแหน่งต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการมีส่วนร่วมในการวางแผนแตกต่างกัน สุดท้าย ลักษณะประชากรศาสตร์ด้านตำแหน่งต่างกันมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประการที่ 4 ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงาน และด้านการประเมินผลมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประการที่ 5 ทัศนคติต่อการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านประโยชน์ที่มีต่อพนักงาน ด้านประโยชน์ที่มีต่อองค์กร และด้านประโยชน์ต่อผลลัพธ์ของงานมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประการที่ 6 ปัจจัยพฤติกรรมองค์กรด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับบุคคล ด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับกลุ่ม และด้านพฤติกรรมมนุษย์ในระดับองค์กรมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
ประการที่ 7 ข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี คือ คณะบริหารธุรกิจควรสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ให้กับบุคลากรคณะบริหารธุรกิจ ตลอดการชี้ให้เห็นถึงความสำคัญการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ผ่านการจัดการประชุม สัมมนา คู่มือการทำงาน การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ การสื่อสารจากล่างขึ้นบน หรือการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
Abstract
This research is a quantitative research aiming at 1) studying demographic factors, understanding, attitude, organizational behavior factors and participation in strategic planning; 2) studying the differences of strategic planning participation categorized by demographic factors; 3) studying the relationship between understanding, attitude, organizational behavior factors and strategic planning participation and 4) recommending ways to promote strategic planning participation of the personnel in the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. The samples in this research were 154 of teachers and supporting staff working at the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi. Questionnaires were used as a data collection tool. The statistics used in data analysis include descriptive statistics consisting of frequency, percentage, mean and standard deviation, and inferential statistics consisting of Pearson correlation at the statistical significance level as of 0.05
The study indicated that
First, most of the respondents were female (68.0%), aged between 41-50 years (32.7%), graduated from master’s degree (36.0%), worked as a teacher (56.7%), positioned in the university employee (34.0%) and experienced between 7-10 working years (10.0%).
Second, personnel from the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi had an opinion towards 1) understanding in terms of planning and evaluation and 2) strategic planning formulation participation in terms of decision making, strategic planning and evaluation at the moderate level. In the meantime, the personnel had the opinion towards 1) understanding in terms of vision and operations, 2) attitude towards participation in terms of benefits for the organization, benefits for the employees and the benefits for the job, 3) organizational behavior factors in terms of individual level, social level and organizational level and 4) strategic planning formulation participation in terms of operation at a high level.
Third, the personnel with different demographic factors in terms of positions had different opinions about overall strategic planning formulation participation. In the meantime, the personnel with different demographic factors in terms of gender, position and position type had different opinion about strategic planning formulation participation in terms of planning. Finally, the personnel with different demographic factors in terms of positions had different opinions about strategic planning formulation participation in terms of evaluation at the statistical significance level as of 0.05.
Fourth, understanding of strategic planning formulation participation in terms of vision, planning, operation and evaluation was correlated with strategic planning formulation participation at the statistical significance level as of 0.05.
Fifth, attitude towards participation in terms of benefits for the organization, benefits for the employees and the benefits for the job was correlated with strategic planning formulation participation at the statistical significance level as of 0.05.
Sixth, organizational behavior factors in terms of individual level, social level and organizational level job was correlated with strategic planning formulation participation at the statistical significance level as of 0.05.
Seventh, recommendations for promoting participation in strategic planning formulation of the Faculty of Business Administration, Rajamangala University of Technology Thanyaburi, can include the creation of knowledge and understanding about the preparation of strategic planning formulation as well as exposure of significance of preparation of strategic planning formulation by organizing the seminar, informal meeting, work manual, down-to-top communication or public relations, as for instance.