Relationship between macroeconomic and inventory value with the determination of a suitable forecasting method for inventory value determination in retail business
โดย ธนานนท์ กรินทร์ทิพย์
ปี 2563
บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาคกับมูลค่าสินค้าคงคลังและวิเคราะห์หาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมเพื่อพยากรณ์มูลค่าสินค้าคงคลังของธุรกิจค้าปลีก ปัจจัยเศรษฐกิจมหภาคที่ศึกษา ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคมูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำเข้า และอัตราเงินเฟ้อ
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บริษัทที่เป็นผู้นำธุรกิจค้าปลีกสินค้าหลายประเภทและมีรูปแบบและช่องทางการขายหลากหลายแห่งหนึ่งในประเทศไทยซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 9% โดยศึกษาจากข้อมูลรายไตรมาสตั้งแต่ปี 2548 – 2563 วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและวิเคราะห์วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ์มูลค่าสินค้าคงคลังด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลครั้งเดียว และวิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลของ Holt-Winters
ผลการศึกษา พบว่า ปัจจัยทางเศรษฐกิจมหภาค ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศมีความสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าคงคลังกลุ่มเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด อาหารสำเร็จรูป สินค้าแฟชั่นสินค้าทั่วไป ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม อาหารแช่แข็ง เหล้า และไวน์ มูลค่าส่งออกมีความสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าคงคลังกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโตและผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก เบียร์ สินค้าทั่วไป สินค้าทั่วไปกลุ่มเคลื่อนไหวช้า ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม สินค้าบรรจุหีบห่อ อาหารแช่แข็ง สุรา และไวน์ มูลค่านำเข้ามีความสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าคงคลังกลุ่มสินค้าทั่วไปกลุ่มเคลื่อนไหวช้า และผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากอัตราเงินเฟ้อมีความสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าคงคลังกลุ่มเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สินค้านำเข้าสำหรับทำอาหาร และอาหารแช่แข็ง และความเชื่อมั่นผู้บริโภคมีความสัมพันธ์กับมูลค่าสินค้าคงคลังกลุ่มเครื่องดื่ม และพบว่าวิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลของ Holt-Winters เป็นรูปแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์มูลค่าสินค้าคงคลังของสินค้ากลุ่มเบียร์ ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดสินค้าบรรจุหีบห่อ สินค้านำเข้าสำหรับทำอาหาร สินค้าทั่วไปในกลุ่มเคลื่อนไหวช้า สุรา ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปาก ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กโตและผลิตภัณฑ์ดูแลเด็ก อาหารแช่แข็ง ไวน์สินค้าทั่วไป สินค้าแฟชั่น และอาหารสำเร็จรูป และวิธีปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลครั้งเดียวเป็นรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับการพยากรณ์มูลค่าสินค้าคงคลังของสินค้ากลุ่มเครื่องดื่ม
Abstract
This independent study aimed to study the relationship between macroeconomic factors and inventory value and to assess forecasting methods which are suitable for determination of the inventory value in retail business. The following macroeconomic factors were studied: gross domestic product (GDP), consumer confidence index (CCI), total exports, total imports, and the rate of inflation.
The sample used in this study comprised company that lead the multi-product retail sector in Thailand within different forms and channels and have a market share of up to 9%. This study determined the correlation of quarterly data taken over a fifteen-year period from 2005 to 2020 with individual macroeconomic factors using Pearson’s Correlation Coefficient to evaluate any statistical relationships that may exist. For the forecasting, the following methods were used: moving average, Simple Exponential Smoothing, and Holt-Winters Exponential Smoothing.
The study results were found that GDP correlated to the inventory value of goods in the following categories: beverages, cleaning products, ready-to-eat meals, fashion, general merchandise, hair care products, frozen foods, liquor and wine. Total exports correlated to the inventory value of goods in the following categories: adult and baby care products, beer, general merchandise, non-fast moving consumer goods of general merchandise, hair care products, packaged goods, frozen foods, liquor and wine. Total imports correlated to the inventory value of non-fast moving consumer goods of general merchandise and oral care products. The rate of inflation correlated to the inventory value of beverages, cleaning products, imported cooking ingredients and frozen foods. Finally, CCI related to the inventory value of beverages. Holt-Winters Exponential Smoothing was found to be the appropriate forecasting method for beer, cleaning products, packaged goods, imported cooking ingredients, non-fast moving consumer goods of general merchandise, liquor, hair care products, oral care products, adult and baby care products, frozen foods, wine, general merchandise, fashion, and ready- to- eat meals while Simple Exponential Smoothing was found to be suitable for beverages.