Antimicrobial activity of nelumbo nucifera gaer gaertn. extracts

โดย ปิยะวดี เจริญวัฒนะ, สุมนา ปานสมุทร, ดำรงค์ คงสวัสดิ์ และอำนวย เพชรประไพ

ปี 2552

บทคัดย่อ

บัวเป็นพืชชนิดหนึ่งที่อยู่คู่คนไทยมาช้านาน บัวไม่ได้เป็นเพียงพืชธรรมดาที่ให้ประโยชน์ได้เฉพาะการนำไปใช้ไหว้พระ นำไปรับประทาน หรือนำไปปลูกไว้เพื่อประดับให้สวยงามเท่านั้น บัวยังสามารถใช้เป็นพืชสมุนไพรได้ นอกจากนี้บัวยังมีคุณลักษณะเด่นอื่นๆ และให้อรรถประโยชน์ได้อีกหลายด้านพืชบัวถูกค้นพบว่ามีมานานแล้วกว่า 3000-4000 ปี จากภาพเขียนสี และซากสถาปัตยกรรมโบราณของชาวอียิปต์บัวได้ถูกใช้พิธีกรรมที่ศักดิ์สิทธิ์มากมาย ในทุกศาสนาและทุกลัทธิต่างมีการกล่าวถึงเทพเจ้าหลายองค์กับบัว ดอกบัวจะถูกใช้ในพิธีกรรมและพิธีมงคลต่างๆ โดยเฉพาะศาสนาพุทธ จะมีที่กล่าวถึงบัวไว้ทั้งในพุทธประวัติ พุทธสุภาษิต และบทสวดมนต์ บัวยังมีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และประเพณีของหลายชาติ โดยเฉพาะชาติไทย ได้แก่ การนำไปใช้ตั้งชื่อหรือเรียกคนสถานที่ สิ่งของ อาทิ จังหวัดปทุมธานี อุบลราชธานี “กระทรวงบัวแก้ว” ซึ่งหมายถึงกระทรวงการต่างประเทศ และประเพณีโยนบัวรับบัว เป็นต้น ความสวยงามของบัวที่เป็นสากลยังได้ถูกถ่ายทอดไปสู่วรรณกรรมและศิลปกรรมในรูปแบบต่างๆมากมาย เช่น คำกลอน สุภาษิต ระบำดอกบัว ลวดลายบนหัวเสา ความต้องการบัวในตลาดโลกปัจจุบันมีอยู่มากและต่อเนื่อง ในฐานะที่ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การพัฒนาบัวให้เป็นพืชเศรษฐกิจหลักที่สำคัญ จึงมีความเป็นไปได้หากทุกฝ่ายร่วมมือและให้ความสำคัญอย่างจริงจัง (http://www.kmitl.ac.th/agridata/Lotus/article/Lotus.pdf)

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพด้านเกษตรกรรม ซึ่งมีรายได้หลักจากการส่งออกสินค้าทางการเกษตรเป็นมูลค่าสูงถึง 662,229 ล้านบาท ในปี 2552 (http://www.oae.go.th/oae_report/export_import/export_result.php) พืชที่ส่งออกและสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยเป็นอย่างมาก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ ามัน ยางพารา สับปะรด ล าใย ทุเรียน มังคุด เงาะ กาแฟ กล้วยไม้ กระเทียม ขิง และ พริกไทย เป็นต้น (http://www.agriinfo.doae.go.th/5year/export/exportpage.pdf) ในการป้องกันก าจัดศัตรูพืชที่ทำความเสียหายในทุกพื้นที่ที่มีการปลูกพืชในปัจจุบัน เกษตรกรมักนิยมใช้สารเคมีในการป้องกันและกำจัด ซึ่งสารเหล่านี้มีการนำเข้ามาเพื่อช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และลดการสูญเสียผลผลิตทางการเกษตร และมักก่อให้เกิดปัญหาในด้านความเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อม นอกจากนี้สารเคมีบางชนิดไม่สามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติก่อให้เกิดการสะสมในดิน พืชและน้ำและเกิดผลกระทบต่อมนุษย์ทางห่วงโซ่อาหาร ปัจจุบันสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ

เริ่มเข้ามามีบทบาทส าคัญในระบบเกษตรกรรม โดยเฉพาะการปลูกพืชระบบอินทรีย์ ได้มีการนำมาศึกษาวิจัยและพบว่าสามารถสร้างสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งศัตรูพืช รวมทั้งส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืชจากสิ่งมีชีวิต ในการค้นหาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจ าเป็นต้องอาศัยเทคนิค เครื่องมือในการทดสอบฤทธิ์ และวิธีการแยกสารให้บริสุทธิ์เพื่อศึกษาว่าองค์ประกอบใดที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ นอกจากนั้นยังต้องมีการปรับปรุงโครงสร้างของสารบางส่วนเพื่อทำให้สารนั้นมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นซึ่งจ าเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้สารออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต และยังช่วยลดปัญหาผลกระทบจากการตกค้างของสารเคมีทางการเกษตรได้อีกด้วย

จากการศึกษาวิจัยพบสารชนิดต่างๆ ในส่วนประกอบของบัวหลวง ที่มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายหรือน ามาปรุงเป็นยารักษาโรคได้ เช่น ส่วนต่างๆ ของบัวหลวง (Nelumbo nucifera Gaertn.) คือ ดอก ใบ ก้านใบ ฝักบัว เมล็ด และโดยเฉพาะดีบัว มีสารอัลคาลอยด์ (Alkaloids) หลายชนิด ที่มีฤทธิ์ต่อการขยายเส้นเลือดที่เลี้ยงหัวใจ เกสรบัว (ตัวผู้) พบสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ รากบัว เหง้าบัว และเปลือกผล พบสารพวกแทนนิน (Tannin) เป็นสารฝาดสมานที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งอาการท้องเดิน และรากบัวมีสารพวกแคลเซียม (Calcium) ช่วยบ ารุงร่างกายเมล็ดบัว มีสารไขมัน (Lipid) ช่วยเพิ่มพลังงาน บำรุงไขข้อและเอ็น (http://www.kmitl.ac.th/agridata/Lotus/article/Lotus.pdf) การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์จากบัวหลวงในประเทศไทย ทำให้ทราบองค์ประกอบทางเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพของบัวหลวง ในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่อไป

DOWNLOAD : การศึกษาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ของสารสกัดจากบัวหลวง