การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่มีผลต่อการยอมรับโดยการใช้โปรแกรมมูดเดิลและเอติวเตอร์ของอาจารย์ในโรงเรียนสตรีศรีน่าน
โดย พัชรพงษ์ ยศกันโท
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบคุณลักษณะที่มีผลต่อการยอมรับโดยการใช้โปรแกรม มูดเดิลและเอติวเตอร์ของอาจารย์ในโรงเรียนสตรีศรีน่าน ปัจจัยที่ศึกษาคือ ปัจจัยทางด้านกลุ่มสาระการเรียนรู้ และปัจจัยเกี่ยวกับประสบการณ์การใช้สื่อการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนลักษณะของโปรแกรมที่มีผลต่อการยอมรับโปรแกรมมูดเดิลและโปรแกรมเอติวแตอร์ จะพิจารณาทางด้าน คุณลักษณะประโยชน์เชิงเปรียบเทียบ เชิงลักษณะเข้ากันได้ คุณลักษณะความยุ่งยากซับซ้อน คุณลักษณะสามารถทดลองใช้ได้ และคุณลักษณะสามารถสังเกตได้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คืออาจารย์ที่สอนอยู่ในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้และใช้โปรแกรมมูดเดิลและเอติวเตอร์ของอาจารย์โรงเรียนสตรีศรีน่าน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย วิเคราะห์ความแตกต่างเป็นรายคู่
ผลการวิเคราะห์พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามที่ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาควิชา คณิตศาสตร์ ส่วนประสบการณ์ใช้สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ มากที่สุดคือ 3-4 ปี ความถี่ในการใช้อินเตอร์เน็ต มากที่สุดคือ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ ความถี่ในการใช้สื่อการเรียนการสอน มากที่สุดคือ 3-5 ครั้ง/สัปดาห์ และ สถานที่ที่ใช้สื่อการเรียนการสอน มากที่สุด คือ โรงเรียนจากงานวิจัยที่ได้พบว่า ลักษณะของโปรแกรมที่มีผลต่อการยอมรับโปรแกรมมูดเดิลและโปรแกรมเอติวแตอร์ อยู่ในระดับ ปานกลาง การเปรียบเทียบคุณลักษณะที่มีผลต่อการยอมรับโดยการใช้โปรแกรมมูดเดิลและเอติวเตอร์ของอาจารย์ในโรงเรียนสตรีศรีน่านพบว่าหลักสูตรที่แตกต่างกัน มีผลต่อการยอมรับลักษณะของโปรแกรมแตกต่างกัน หลักสูตรที่แตกต่างกัน มีผลต่อการยอมรับโปรแกรมในแต่ละด้านที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าหลักสูตรคณิตศาสตร์ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ได้เลือกใช้โปรแกรมเอติวเตอร์ สาหรับหลักสูตรภาษาอังกฤษ เลือกใช้โปรแกรมมูดเดิล และในด้านประสบการณ์การใช้สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) พบว่า ประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) ที่แตกต่างกัน มีผลต่อการยอมรับโปรแกรมการใช้โปรแกรมมูดเดิลและเอติวเตอร์ที่แตกต่างกันออกไป
The study aimed to compare the program characteristics affecting the teachers’ recognition of Moodle Program and ATutor Program in Stri Srinan School. The factors of the subject strand and experience in using electronic learning media were studied. The program characteristics affecting the Moodle Program and ATutor Program were considered on comparative advantage in terms of matching, complication, availability, and noticeability. The sample of the study were the teachers in Stri Srinan School responsible for teaching each subject strand and using the Moodle Program and ATutor Program. The questionnaires were used as the instrument, and the data were analyzed applying Arithmetic Mean, Percentage, Standard Deviation, F-test and Least Significant Difference.
The study showed that most of the respondents were the teachers of mathematics strand, had 3-4 years experience of using electronic learning media, had 3-5 times/week of using internet, had 3-5 times/week of using learning media, and used the electronic learning media at school. Concerning the program characteristics, it was found that the teachers’ recognition of Moodle Program and ATutor Program were at a moderate level. The characteristics comparison affecting the teachers’ recognition of Moodle Program and ATutor Program in Stri Srinan School illustrated that different curriculum caused difference in the program and characteristics recognition. It could be concluded that the Moodle Program was chosen to use in mathematics, Thai language, Sciences and Social Study courses, and the ATutor Program was chosen to use in English courses. As regards the experience of using the electronic learning media, the study revealed that difference experiences of using the electronic learning media affected difference in the recognition of the Moodle Program and ATutor Program