A Study of Fabric Effects on Sewing the Armhole

โดย สายชล มงคล, ศรีกาญจนา จตุพัฒน์วโรดม และสุทัศนีย์ บุญโญภาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาชนิดและลักษณะของผ้าที่มีผลต่อวิธีการเย็บวงแขนเสื้อสตรี 2) เพิ่มประสิทธิภาพการตัดเย็บแขนเสื้อสตรี กลุ่มทดลองที่ใช้ในการวิจัยมี 3 กลุ่มคือนักเรียน ช่างเย็บผ้าจากห้องเสื้อ และพนักงานเย็บของโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ทดลองการเย็บรูดย่นหัวแขนเสื้อสตรีจากผ้า 3 ชนิดคือ ผ้าไหมทอ 1 เส้น ผ้าฝ้ายมัสลิน และผ้าชีฟอง ด้วยเทคนิค 4 วิธีคือ การเนา การรีดย่น การเย็บรูด และการใช้ตีนผีย่น ศึกษาเวลามาตรฐานด้วยนาฬิกา สถิติที่ใช้วิเคราะห์คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ทดสอบสมมุติฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวน ด้วย One – Way ANOVA ผลการทดลองพบว่า 1) ผ้าไหม 1 เส้น มีน้้าหนัก 66.04 กรัมต่อตารางเมตร ความหนาของผ้า 0.044 มิลลิเมตร ผ้าฝ้ายมัสลิน มีน้้าหนัก 73.59 กรัมต่อตารางเมตร ความหนาของผ้า 0.057 มิลลิเมตร และผ้าชีฟอง มีน้้าหนัก 76.06 กรัมต่อตารางเมตร ความหนาของผ้า 0.106 มิลลิเมตร 2) ผ้าไหม 1 เส้น เย็บรูดย่นหัวแขนเสื้อด้วยตีนฝีย่นใช้เวลาน้อยที่สุดคือ 0.27 นาที ผ้ามัสลิน เย็บรูดย่นหัวแขนเสื้อด้วยวิธีเย็บรูดใช้เวลาน้อยที่สุดคือ 0.27 นาที 3) ผ้าชีฟอง เย็บรูดย่นหัวแขนเสื้อด้วยวิธีรีดย่นใช้เวลาน้อยที่สุดคือ 0.38 นาที ผลการทดสอบความแข็งแรงของตะเข็บพบว่า ผ้าไหม 1 เส้น มีความแข็งแรงของตะเข็บมากที่สุดคือ 251.31 นิวตัน และผลการส้ารวจความพึงพอใจด้านเทคนิคการเย็บรูดหัวแขนของกลุ่มทดลองพบว่า มีค่าเฉลี่ยดีมาก คือ 3.97

Download : A Study of Fabric Effects on Sewing the Armhole