Instructional package with theory of transfer knowlege in gratitude topic for prathomsuksa 6 students
โดย จามร วงศ์พรมมา
ปี 2554
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่องความกตัญญูกตเวที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์2) เพื่อศึกษาผลการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่องความกตัญญูกตเวที ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่องความกตัญญูกตเวที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์1ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง Purposive Random samplingผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการทดลองหาประสิทธิภาพของชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์จำนวน 30 คน พบว่ามีระดับคะแนนร้อยละจากการทำใบงานระหว่างเรียนเท่ากับ 81.30 และการทำแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 81.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ คือ 80/80 2)การเปรียบเทียบผลการถ่ายโยงการเรียนรู้ก่อนและหลังใช้ชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้ เรื่องความกตัญญูกตเวที สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 6 โรงเรียนไทยนิยมสงเคราะห์ พบว่า ผลของการเรียนด้วยชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวที หลังการทดลองใช้ชุดการสอนมีผลการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนด้วยชุดการสอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจโดยรวมของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวทีพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้เรื่องความกตัญญูกตเวทีอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.49 ซึ่งนักเรียนให้ความคะแนนความพึงพอใจในด้านสื่อและอุปกรณ์ประกอบชุดการสอนมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา และด้านกิจกรรมเป็นลำดับสุดท้าย
The purposes of this study were to 1) provide learning packages following transfer of learning concept related to a topic of filial piety for Prathomsuksa 6 students of Thainiyomsongkroh School, 2) investigate results of transfer of learning related to a topic of filial piety for Prathomsuksa 6 students of Thainiyomsongkroh School, and 3) examine satisfaction with learning packages following transfer of learning concept related to a topic of filial piety for Prathomsuksa 6 students of Thainiyomsongkroh School. The purposive sampling was applied to select the samples of 30 Prathomsuksa 6 students in a classroom of Thainiyomsongkroh School. The results found that 1) Regarding to a test of learning packages’ efficiency following the transfer of learning concept associated with the filial piety for 30 Prathomsuksa 6 students of Thainiyomsongkroh School, the percentage score of worksheets during the course was 81.30 and after the course was 81.78 which was higher than a standard criteria 80/80, 2) To a comparison of the transfer of learning, before and after using the learning packages following the transfer of learning concept associated with the filial piety for 30 Prathomsuksa 6 students of Thainiyomsongkroh School, it indicated that the students’ achievement after applying the learning packages following the transfer of learning concept associated with the filial piety was higher than the results before using the learning packages with statistical significance level of .05, and 3) To the overall satisfaction of students with the learning packages following the transfer of learning concept associated with the filial piety, the samples were satisfied with the learning packages following the transfer of learning concept associated with the filial piety at highest level. The average value of their satisfaction was 4.49. Most of them were satisfied with the instructional media and equipments of learning packages, followed by contents and activities, respectively.